โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 400 เตียง มุ่งสู่การรับรองมาตรฐาน LEED-HC

 

 

 

 

LEED – Leadership in Energy and Environmental Design

อาคารสีเขียวสร้างสรรค์

เพื่อทุกชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

อาคารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 400 เตียง

มุ่งสู่การรับรองมาตรฐาน LEED-HC

(Leadership in Energy and Environmental Design for New Construction

and Major Renovation of Healthcare Facility Projects) ระดับ Gold

 


 

มาตรฐาน LEED เกณฑ์การประเมินจากสถาบันอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา

U.S. Green Building Council, USGBC)

คือ ระบบประเมินอาคารเขียวที่ได้รับความนิยมสูงสุดในโลกและเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติโดยเน้นการประเมินด้านการออกแบบ ก่อสร้างอาคาร และการดำเนินโครงการที่ช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมและด้าน สุขภาพอนามัยของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน โดยแบ่งเกณฑ์การประเมินออกเป็น 7 หมวด

 

 

 

 

Sustainable Site


โครงการศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ตั้งอยู่ใจกลางศูนย์ราชการในฝั่งเหนือของกรุงเทพมหานคร

 

  • จัดสรรพื้นที่สำหรับป้ายจอดรถประจำทางด้านหน้าโครงการเพื่อรองรับระบบขนส่งสาธารณะ
  • พื้นที่จอดรถจักรยานเพื่อส่งเสริมการใช้คมนาคมทางเลือกอื่น ๆ แทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
  • พื้นที่จอดรถประสิทธิภาพสูงเพื่อส่งเสริมการเลือกใช้รถประหยัดเชื้อเพลิง หรือพลังงานทางเลือก

 

 

Green Space


พื้นที่สีเขียวและพื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศที่ประกอบด้วยทางเดินร่มไม้และทางสำหรับรถเข็นที่รายล้อมด้วยธรรมชาติและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจเพื่อส่งเสริมกิจกรรมสำหรับผู้ใช้อาคารทั้งบุคลากร ผู้ป่วยและญาติที่เข้ามารับบริการภายในโรงพยาบาล

 

 

Water Efficiency


ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าด้วยการเลือกสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำร่วมกับระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ในระบบรดน้ำต้นไม้และหอระบายความร้อน (Cooling Tower)รวมทั้งมีการติดตั้งมาตรวัดน้ำย่อยในระบบต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบการใช้น้ำในแต่ละระบบ

 

 

Energy & Atmosphere Efficiency


การออกแบบที่เน้นการประหยัดพลังงานและการบริหารจัดการที่คำนึงถึงผลต่อชั้นบรรยากาศ

 

  • ระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าให้แต่ละอาคาร
  • ระบบ BAS ร่วมกับ Digital meter ในการแยกวัดตรวจสอบ บันทึก และแสดงผลการทำงานของแต่ละระบบภายในอาคารเพื่อประเมินการใช้พลังงานอาคารและการบริหารจัดการอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ระบบปรับอากาศใช้สารทำความเย็นไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนมีค่าทำให้เกิดภาวะโลกร้อนต่ำ(Ozone depletion and Global warming potential)
  • การควบคุมมลพิษจากการก่อสร้างเพื่อป้องกันตะกอนดิน น้ำ ฝุ่น และสารพิษฟุ้งกระจายไปยังสิ่งแวดล้อม

 

การให้บริการทางการแพทย์ที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงและการเรียนของนักศึกษาที่ช่วงเวลาในอาคารต่างกัน การออกแบบระบบแสงสว่าง จึงมุ่งเน้นการประหยัดพลังงาน

 

  • ใช้กระจกประหยัดพลังงาน Laminated Insulated low-E
  • ติดตั้งฉนวนหลังคา เพื่อป้องกันความร้อน
  • ใช้หลอดไฟ T8 LED ประสิทธิภาพสูงร่วมกับ Daylight sensor เพื่อปรับความสว่างให้เหมาะสมกับระดับแสงธรรมชาติ

 

 

Indoor Environmental Quality


การออกแบบระบบปรับอากาศ

 

  • มีระบบตรวจวัดปริมาณอากาศบริสุทธิ์และคาร์บอนไดออกไซด์ภายในอาคาร เพื่อจัดการคุณภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีระบบควบคุมอุณหภูมิ ความเร็วลมและความชื้นสัมพัทธ์ภายในอาคาร
  • มีการระบายอากาศที่เหมาะสมอากาศหมุนเวียนภายในอาคารอย่างเพียงพอ

 

 

Material Safety


  • เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ปลอดสารพิษตามมาตรฐานเพื่อลดมลพิษทางอากาศและสารที่อาจทำให้ก่อโรคในร่างกาย
  • เลือกใช้วัสดุปูผิวพื้นภายนอก และหลังคาอาคารที่มีสีอ่อน หรือมีค่าดัชนีการสะท้อนรังสีความร้อนสูง (Solar Reflectance Index, SRI)
  • เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น วัสดุที่มีส่วนผสมจากวัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุที่มีแหล่งวัตถุดิบและโรงงานภายในประเทศ

 

 

Waste Management


  • การจัดพื้นที่คัดแยกขยะ ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะอันตราย
  • การคัดแยกขยะรีไซเคิล
  • การจัดการขยะและเศษวัสดุจากการก่อสร้างโครงการ
  • การทำความสะอาดและบริหารจัดการอาคารอย่างมิตรกับสิ่งแวดล้อม