กุมารเวชกรรม
ดูทั้งหมดRSV เชื้อโรคตัวร้ายในเด็ก
อาการเด็กจะมีอาการไอมาก มีเสมหะมาก เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงวี้ดๆ อาจมีน้ำมูกหรือจามร่วมด้วย บางครั้งเหมือนมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลมตลอด ไอติดๆ แต่ขับเสมหะไม่ออก อาจมีไข้ต่ำๆ หรือไข้สูงก็ได้ วิธีสังเกตอาการระยะฟักตัว 3-6 วันหลังได้รับเชื้อ จะมีอาการคล้ายไข้หวัด จากนั้น จะออกอาการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ความรุนแรงเด็กเล็กที่มีโรคหรือภาวะประจำตัว อาทิเช่น เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีโรคปอด โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังหรือ โรคหลอดลมไวเกิน โรคหัวใจ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เมื่อโชคร้ายติดเชื้อ RSV จะมีอาการทรุดหนักกว่าเด็กทั่วไป บางครั้งการอักเสบถึงกับลงหลอดลมส่วนลึกหรือลงเนื้อปอด เกิดภาวะขาดออกซิเจน ภาวะการหายใจล้มเหลว หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม สำหรับเด็กเล็กที่เดิมมีสุขภาพแข็งแรง เด็กโต หรือผู้ใหญ่ อาการจะคล้ายไข้หวัดและจะสามารถหายได้เอง โดยทั่วไป เด็กเล็กอาจมีอาการนานถึง 1-2 สัปดาห์จึงจะดีขึ้น วิธีการป้องกันแม้ว่าในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะค้นพบเชื้อไวรัส RSV มานานกว่า 60 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการคิดค้นหรือผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อนี้ได้ ดังนั้น การป้องกันก็ใช้วิธีเดียวกันกับการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ คือ […]
มะเร็งวิทยา
ดูทั้งหมดเครื่องฉายรังสี รุ่น Ethos
การเลือกใช้เครื่องฉายรังสีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์การเลือกใช้เครื่องฉายรังสีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
ศัลยกรรม
ดูทั้งหมดนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones)
ถุงน้ำดีคืออะไร? ถุงน้ำดี (Gallbladder) คือ อวัยวะที่มีลักษณะเป็นถุงรูปทรงรี ตั้งอยู่บริเวณใต้ต่อตับ มีท่อขนาดเล็กเชื่อมเข้ากับท่อน้ำดีหลักของร่างกาย ถุงน้ำดีทำหน้าที่กักเก็บน้ำดีที่ผลิตจากตับ เมื่ออาหารผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กจะไปกระตุ้นให้ถุงน้ำดีบีบตัว เพื่อขับน้ำดีให้ไหลออกสู่ท่อทางเดินน้ำดีหลักที่เปิดออกสู่ลำไส้เล็ก ทำให้ไขมันในอาหารแตกตัว เพื่อย่อยและดูดซึมต่อไป โรคนิ่วในถุงน้ำดี (gallstones) คืออะไร? น้ำดีปกติมีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ คอเลสเตอรอล, ตะกอนสีน้ำดี (bile pigment) และแคลเซียม เมื่อมีความไม่สมดุลของส่วนประกอบเหล่านี้ในถุงน้ำดี จะกระตุ้นให้น้ำดีตกตะกอนเป็นผลึก กลายเป็นนิ่วในถุงน้ำดีต่อมา สามารถเกิดได้ทั้งนิ่วขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็กหลายๆก้อนก็ได้ นิ่วในถุงน้ำดี มี 2 ชนิดหลัก ได้แก่ นิ่วคอเลสเตอรอล (Cholesterol stone) และนิ่วตะกอนสีน้ำดี (Pigment stone) โดยอุบัติการณ์ของผู้ป่วยในประเทศฝั่งตะวันตกจะพบนิ่วชนิดคอเลสเตอรอลมากที่สุด กลับกันผู้ป่วยในประเทศฝั่งตะวันออกจะพบนิ่วชนิดตะกอนสีน้ำดีมากกว่า ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี 1.ภาวะอ้วน 2.เพศ เพศหญิงจะพบนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าเพศชายประมาณ 1.5 เท่า 3.อายุ ช่วงอายุที่พบมากอยู่ที่ประมาณ 40 – 60 ปี 4.กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน 5.การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว 6.การบริโภคอาหารที่ไขมันสูง […]
การดูแลตนเองหลังจากมีทวารเทียม
การรับประทานอาหาร สามารถรับประทานอาหารได้ทุกประเภท แต่แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่ก่อให้เกิดแก๊สและกลิ่น ส่งผลให้ทวารเทียมของท่านมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ อาหารที่ก่อให้เกิดแก๊ส ได้แก่ อาหารประเภทถั่ว เบียร์ น้ำอัดลม ผักจำพวก กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เป็นต้น อาหารที่ก่อให้เกิดกลิ่น ได้แก่ อาหารประเภทถั่ว เครื่องเทศ ผักจำพวก ชะอม สะตอ หัวหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น การอาบน้ำ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติโดยใช้ถุงพลาสติกหรือถุงซิปล็อคครอบถุงทวารเทียมอีกชั้นหนึ่ง จะใช้วิธีตักอาบหรืออาบจากฝักบัวก็ได้ หลังอาบน้ำให้ใช้ผ้าสะอากซับทุกส่วนของอุปกรณ์รองรับการขับถ่ายให้แห้ง สามารถล้างบริเวณรอบรูทวารเทียมด้วยสบู่อ่อนได้ การทำความสะอาดทวารเทียม 1.ให้ผู้ป่วยคิดว่าทวารเทียมคือก้นของเรา ดังนั้น สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้านุ่มสะอาดเช็ดได้เลย 2.ควรเทอุจจาระออกจากถุงเมื่อมีปริมาณประมาณครึ่งถุง เพื่อไม่ให้ปริมาณอุจจาระถ่วงถุงรองรับของเสียมากจนเกินไป จนอาจทำให้ถุงครอบทวารเทียมเลื่อนหลุดออกจากตำแหน่ง การนอน แนะนำให้เทของเสียออกก่อนนอน หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำเป็นระยะเวลานาน เพื่อลดการกดทับต่อทวารเทียมและถุงรองรับของเสีย การแต่งกาย แนะนำให้สวมเครื่องแต่งกายที่หลวมเล็กน้อย โดยให้ขอบกระโปรงหรือกางเกงอยู่ต่ำกว่าแนวทวารเทียม หลีกเลี่ยงการแต่งตัวที่มีการกดทับ หรือรัดเข็มขัดลงไปบนทวารเทียม เพื่อลดการเสียดสีกับถุงรองรับของเสีย แนะนำให้ใช้กางเกงในที่มีขอบเอวอยู่ใต้ถุงรองรับสิ่งขับถ่าย ในปัจจุบันมีเข็มขัดประคองทวารเทียมออกจำหน่าย เพื่อช่วยกระชับถุงรองรับของเสีย ลดการแกว่งเหวี่ยงของทวารเทียม ช่วยอำพรางถุงหน้าท้องจากเสื้อผ้า และทำให้ท่านแต่งกายได้อย่างมั่นใจมากขึ้น การออกกำลังกาย หลังผ่าตัดประมาณ […]
“ปรับตัว ปรับใจ ชีวิตใหม่กับทวารเทียม”
เมื่อพูดถึงการผ่าตัดทำทวารเทียมเพื่อขับถ่ายทางหน้าท้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกกลัว และวิตกกังวลมาก เมื่อทราบว่าตนเองต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดว่าการที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ จะรบกวนชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงาน และรูปลักษณ์ อีกทั้งยังมีความกังวลในเรื่องอื่นๆ เช่น การดูแลทวารเทียม การรับประทานอาหาร และการติดเชื้อ เป็นต้น ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับทวารเทียมให้ดียิ่งขึ้น ทำไมถึงต้องทำทวารเทียม ประโยชน์ในการรักษาโรค และการดูแลตนเองเมื่อมีทวารเทียมที่ผนังหน้าท้อง หากปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง ท่านก็สามารถดำรงชีวิตอยู่กับทวารเทียมได้อย่างปกติ ลักษณะโดยทั่วไปของทางเดินอาหาร เราจะนำทุกท่านทำความรู้จักกับทางเดินอาหารปกติของคนเราก่อน เมื่อท่านรับประทานอาหาร อาหารจะถูกบดเคี้ยว และลำเลียงผ่านหลอดอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร คลุกเคล้ากับน้ำย่อยในกระเพาะ ส่งผ่านไปที่ลำไส้เล็กซึ่งทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นอาหารที่ถูกย่อยจะถูกส่งต่อไปยังลำไส้ใหญ่และดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายที่บริเวณนี้ กากอาหารจะแปรสภาพเป็นก้อนแข็งขึ้น กลายเป็นมวลอุจจาระ แล้วถูกขับถ่ายออกมาทางทวารหนัก บริเวณปากทวารหนักจะมีกล้ามเนื้อหูรูดเป็นตัวกลั้นและควบคุมการถ่ายอุจจาระเมื่อร่างกายรู้สึกปวดถ่าย ทวารเทียมคืออะไร ทวารเทียมคือการผ่าตัดยกลำไส้มาเปิดทางหน้าท้อง เป็นการเปลี่ยนทางเดินอุจจาระให้ออกมาทางหน้าท้องแทนรูทวารเดิม ลักษณะของทวารเทียมจะมีลักษณะคล้ายท่อ อยู่สูงกว่าผิวหนังเล็กน้อย สีชมพูมันวาว ไม่มีเส้นประสาท ดังนั้นเมื่อเราสัมผัสทวารเทียมจึงไม่มีความรู้สึกเจ็บ ส่วนลักษณะของอุจจาระนั้นจะแตกต่างกันตามตำแหน่งลำไส้ที่นำมายกเปิดทำทวารเทียม เนื่องจากทวารเทียมปราศจากหูรูด ทำให้ต้องมีอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายที่เหมาะสม ทำไมเราต้องผ่าตัดทำทวารเทียม 1.เพื่อรักษาโรคมะเร็งลำไส้ในบางระยะ 2.เพื่อแก้ไขภาวะลำไส้อุดตัน 3.เพื่อแก้ไขความผิดปกติบางประการของระบบขับถ่าย
หัวใจและหลอดเลือด
ดูทั้งหมดการกู้ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การกู้ฟื้นคืนชีพ (CPR) จากภาวะความเจ็บป่วยและโรคประจำตัวในปัจจุบันที่เพิ่มมากขึ้นในประชากรทั่วโลก ส่งผลให้เกิดภาวะผู้ป่วยหมดสติหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมากขึ้น โดยสิ่งที่มีความสำคัญเร่งด่วนในการรักษาเบื้องต้นของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือการทำ CPR (Cardiopulmonary resuscitation) หรือที่เรียกว่า “การปั๊มหัวใจ” ที่มีความรวดเร็ว แม่นยำ และปฏิบัติถูกต้อง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้นจากภาวะฉุกเฉินต่างๆ เช่น ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ไฟฟ้าช็อต จมน้ำ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญมาก ผู้ป่วยจะมีการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมอง ซึ่งส่งผลให้มีภาวะสมองตายได้ เพียงขาดออกซิเจน 4 นาทีการช่วยชีวิตอย่างถูกต้องและรวดเร็ว จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยรอดชีวิต มีหัวใจกลับมาเต้นดังเดิม หรือยืดระยะเวลาให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปยังทีมแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญในการกู้ชีพ คือ เครื่องกระตุกหัวใจ ที่เรียกว่าเครื่อง Automated external defibrillator (AED) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการช่วยประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ว่ามีความจำเป็นต้องช๊อตไฟฟ้าผู้ป่วยหรือไม่ โดยเครื่องทำการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วย และพร้อมทำการช๊อตไฟฟ้าเมื่อพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดผิดปกติของผู้ป่วย ซึ่งเครื่องมือนี้ ถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากในการเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ขั้นตอนการช่วยชีวิต เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติ ให้ตรวจสอบดูความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายแก่ผู้ช่วยเหลือ เช่น บริเวณไฟฟ้า หรือ ไฟฟ้าช๊อตจากสายไฟรั่ว เป็นต้น […]
การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกเทียมผ่านสายสวน (TAVR)
อาการแสดงที่บ่งบอกถึงความรุนแรงของโรค แนวทางการรักษาโรคลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกตีบรุนแรง การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติก (Aortic valve replacement) ที่่เป็นการรักษาตามมาตรฐาน การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกผ่านสายสวน (Transcatheteraorticvalvereplacement:TAVR) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการรักษาโรคลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกตีบรุนแรงในผู้ป่วยที่อาการรุนแรง มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดแบบเปิดหน้าอก มีโรคร่วมหลายโรค เคยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกตีบเทียม เคยผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (CABG) และในผู้ป่วยอายุมากกว่า 75 ปี การรักษาด้วยวิธีนี้จะลดอัตราการเสียชีวิต ลดระยะเวลาการพักฟื้นในการนอนโรงพยาบาล และเพิ่มคุณภาพชีวิติให้กับผู้ป่วย ปัจจุบัน การรักษาโรคลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกตีบรุนแรงด้วยการทำหัตถการ TAVR เป็นการรักษาตามมาตรฐานในระดับสากล และเป็นเป้าหมายสำคัญของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ในการเพิ่มศักยภาพด้านการรักษาผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกตีบ รุนแรง ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เท่าเทียมในระดับสากล เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการรักษา การส่งต่อ และเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับหัตถการ TAVR ทั้งในและต่างประเทศ
โรคหลอดเลือดสมองตีบ
โรคหลอดเลือดสมองตีบคืออะไร? โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออัมพฤกษ์ อัมพาต (stroke) คือโรคที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ทำให้สมองขาดเลือดโดยฉับพลัน เมื่อเซลล์สมองเสียหาย คนไข้จะมีอาการทางระบบประสาทตามตำแหน่งที่มีการขาดเลือด
อายุรกรรม
ดูทั้งหมด8 วิธีฝึกตนเอง ช่วยพัฒนาสมอง
8 วิธีฝึกตนเอง ช่วยพัฒนาสมองใคร ๆ ก็อยากมีความจำที่ดี เรามาฝึกตนเองเพื่อพัฒนาความจำด้วย 8 วิธีง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ 1. แก้ไขปัญหาที่รบกวนการสร้างความจำที่ดี เช่น ปัญหาการมองเห็น ปัญหาการได้ยิน รวมถึงเลี่ยงสิ่งที่ทำลายความจำ เช่น ของมึนเมาและสิ่งเสพติดต่าง ๆ 2. เตรียมความพร้อมในการสร้างความจำ เช่น การนอนหลับที่เพียงพอและมีคุณภาพ การทำสมาธิ การผ่อนคลายลดความตึงเครียด 3. ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสหลาย ๆ ด้านในการกระตุ้นความจำ เช่น อ่านหนังสือออกเสียง (จะช่วยฝึกการมองเห็นและการได้ยิน) การหลับตาคลำหรือดมทายชื่อสิ่งของ (จะช่วยฝึกการสัมผัสและการดมกลิ่น) 4. กระตุ้นการใช้งานของสมองทั้งสองด้านอย่างสม่ำเสมอ เช่น ใช้มือด้านไม่ถนัดแปรงฟัน ใช้มือข้างไม่ถนัดหยิบจับของชิ้นเล็ก ๆ 5. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและกิจกรรมเข้าจังหวะ เช่น ลีลาศ รำวง 6. เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มและการสันทนาการ เช่น เล่นเกมส์ หมากรุก ต่อจิ๊กซอ จับคู่ภาพ 7. สร้างเครื่องมือช่วยจำ ด้วยวิธีที่หลากหลาย […]
เทคโนโลยีจักษุวิทยา
ดูทั้งหมดโรคต้อหิน
โรคต้อหินพบในคนไทยกว่า 2 ล้านคน ส่วนใหญ่พบในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โรคต้อหินระยะแรกไม่มีอาการ จัดเป็นภัยเงียบของดวงตา โดยโรคต้อหินเกิดจากการที่ความดันในลูกตาสูงจากการระบายออกของน้ำเลี้ยงในลูกตาน้อยผิดปกติทำให้ลูกตาแข็งขึ้น จนเกิดการกดทับขั้วประสาทตา ทำให้เซลล์ประสาทตาถูกทำลาย มีการเสียของลานสายตาและการมองเห็นลดลงเรื่อย ๆ หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด วิธีการรักษาโรคต้อหิน โดยประเมินจากความรุนแรงของโรคตามลำดับ • การใช้ยา• การรักษาด้วยเลเซอร์• การผ่าตัด กลุ่มเสี่ยงโรคต้อหิน อายุ 40 ปีขึ้นไป และมักพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ ความดันในลูกตาสูง พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน สายตาสั้นหรือยาวมาก มีโรคทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ ผู้ที่ใช้ยาหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์มานานจนทำให้ความดันตาขึ้น เคยได้รับอุบัติเหตุ/ผ่าตัดตามาก่อน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หัวใจ และความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองต้อหินกับจักษุแพทย์เป็นประจำทุกปี ร่วมรณรงค์คนไทยดูแลใส่ใจสุขภาพดวงตา ต้อหินภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น รู้เท่าทัน รักษาเร็ว ป้องกันตาบอดได้ เข้ารับการตรวจปรึกษาได้ที่ เทคโนโลยีจักษุวิทยา ชั้น 12 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์โทร 0 2765 […]
คำแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดตาด้วยเลเซอร์
คำแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนทำการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ 1.กรุณามาตามเวลานัดหมาย 2.หากไม่สามารถมาตามนัดได้กรุณาแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน 3.แจ้งแพทย์หากท่านมีอาการผิดปกติ เช่น เป็นหวัด มีไข้ ตาแดง หรือมีขี้ตา 4.แจ้งแพทย์หากท่านมีโรคประจำตัว และยาที่ใช้เป็นประจำ 5.อาบน้ำสระผมให้สะอาดก่อนมาโรงพยาบาล 6.สวมเสื้อที่ถอดง่ายควรเป็นเสื้อที่มีกระดุมด้านหน้า 7.ไม่แต่งหน้าและไม่ฉีดน้ำหอม 8.ถอดคอนแทคเลนส์ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 7 วัน สำหรับเลนส์ชนิดนิ่ม และอย่างน้อย 14 วัน สำหรับเลนส์ชนิดแข็ง 9.รับประทานอาหารแต่พออิ่มหรือรับประทานของว่างเบาๆ 10.**ควรพาเพื่อนหรือญาติมาด้วย เพื่อดูแลหลังผ่าตัดเสร็จ คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังทำการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ใส่ฝาครอบตา ตลอดเวลา ในวันแรก และ ขณะนอนหลับเวลากลางคืน เพื่อป้องกันการขยี้ตา เช้าหลังวันผ่าตา เปิดตาเช็ดทำความสะอาดตาและหยอดยาปฏิชีวะนะตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ การดูแลหลังผ่าตัด สัปดาห์ แรก ห้ามขยี้ตาโดยเด็ดขาด ห้ามล้างหน้า เพราะจะทำให้น้ำหรือสิ่งสกปรกเข้าตา ให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้หมาด หรือทิชชูเปียกเช็ดบริเวณใบหน้ายกเว้นบริเวณรอบดวงตาแทน (ถ้าสระผม ให้นอนสระผมโดยให้ผู้อื่นสระผมให้ ระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าตา ขณะสระผม) ให้ใส่ฝาครอบตา ขณะนอนหลับ ทั้งตอนกลางคืนและนอนพักในเวลากลางวัน ห้ามเล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือทำงานบ้านที่ทำให้เหงื่อออก […]
ภาวะสายตาผิดปกติ
“ การที่คนเรามีสายตาปกติ เป็นผลจากการที่แสงผ่านกระจกตา (Cornea) และเลนส์แก้วตา (Crystalline Lens) โฟกัสลงพอดีที่จุดรับภาพจอประสาทตา (Fovea) ทำให้เรามองเห็นภาพคมชัด แต่หากกำลังการรวมแสงของตาไม่พอดีกับความยาวลูกตา เป็นผลให้จุดโฟกัสของตาตกไม่พอดีที่จุดรับภาพจอประสาทตาเรียกว่าภาวะสายตาผิดปกติ(Refractive errors) ” ภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive Errors) สายตาสั้น : แสงโฟกัสหน้าจุดรับภาพ ทำให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ชัด แต่มองไกลไม่ชัด สายตายาว : แสงโฟกัสหลังจุดรับภาพ ทำให้มองไม่ชัดทั้งใกล้และไกล สายตาเอียง : แสงทั้งสองระนาบไม่โฟกัสที่จุดเดียวกัน ทำให้ภาพที่เห็นไม่ชัดในบางแกน สายตายาวในผู้สูงอายุ : ไม่ถือเป็นภาวะสายตาผิดปกติ แต่เป็นภาวะความเสี่ยงของระบบการปรับโฟกัสเพื่อมองใกล้ พบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีค่าสายตาปกติ แต่มองใกล้ไม่ชัด สาเหตุของสายตาผิดปกติ มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรง เช่น พันธุกรรม การใช้สายตาเพ่งนาน ๆ การรักษาภาวะสายตาผิดปกติ รักษาแบบไม่ผ่าตัด เช่น การวัดสายตาตัดแว่น การใส่คอนแทคเลนส์ การรักษาแบบผ่าตัด แบ่งเป็นการรักษาที่กระจกตา เช่น การทำ LASIK, ReLEx SMILE […]
ไต
ดูทั้งหมดการปลูกถ่ายไต
การปลูกถ่ายไตคืออะไร การปลูกถ่ายไต คือ การบำบัดทดแทนไตในการรักษาภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายวิธีหนึ่ง โดยนำไตที่ยังทำงานดีหนึ่งข้างจากผู้บริจาคที่มีชีวิตหรือผู้บริจาคที่เสียชีวิตภาวะสมองตาย นำมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยให้ผลในการรักษาดีกว่าและประสบความสำเร็จมากกว่าการบำบัดทดแทนไตวิธีอื่น ๆ เช่น การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการล้างไตทางช่องท้อง ประโยชน์ของการปลูกถ่ายไตที่เหนือกว่าการบำบัดทดแทนไตชนิดอื่น ๆ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต จะมีการทำงานของไตที่ใกล้เคียงกับผู้ป่วยที่มีไตปกติทั้งสองข้าง และเหนือกว่าการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีอื่น ได้แก่ การกรองของเสีย การแลกเปลี่ยนดูดกลับน้ำและเกลือแร่ ผลิตฮอร์โมน เป็นต้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การติดเชื้อและโรคแทรกซ้อนจากการฟอกไต ลดการจำกัดชนิดอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันและทำงานได้มากขึ้น การปลูกถ่ายไตมีกี่ชนิด การปลูกถ่ายไตมี 2 ชนิด การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคมีชีวิต ผู้บริจาคไตต้องเป็นญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือเป็นสามีภรรยาที่แต่งงานตามหลักเกณฑ์ที่ระบุตามกฎหมาย การปลูกถ่ายไตโดยวิธีนี้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่มีภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ยังไม่เข้ารับการบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตาย ในทางการแพทย์และกฎหมายถือว่าเป็นผู้เสียชีวิตแล้ว ที่มีการทำงานของไตยังปกติ โดยผ่านการบริจาคให้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยซึ่งจะเป็นองค์กรกลางที่จัดสรรให้กับผู้รอรับไตอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้การปลูกถ่ายไตโดยการซื้อขายไตจากบุคคลอื่นที่มีชีวิตอยู่ซึ่งไม่ใช่ญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือสามีภรรยาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผิดกฎหมายและจรรยาบรรณทางการแพทย์และศีลธรรม โอกาสของการประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายไต เป็นอย่างไร ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการรักษาที่ดีขึ้น มีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อไตและเลือดของผู้บริจาคและผู้รับบริจาค มีการผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง มียากดภูมิคุ้มกันชนิดรับประทานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้โอกาสประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายไตสูงกว่าในอดีตมาก แต่อย่างไรก็ตาม ผลสำเร็จในการปลูกถ่ายไตขึ้นกับหลายปัจจัย ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือชนิดของไตที่ได้รับ ถ้าเป็นไตที่มาจากญาติพี่น้องที่เนื้อเยื่อสามารถเข้ากันได้ และมาจากบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ โอกาสที่ไตจะทำงานได้เป็นปกติ และทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้นก็มีสูงขึ้นผลสำเร็จใน […]