ผลงานวิจัย

คนดี คนเก่ง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ดูทั้งหมด

ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ที่ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทนวัตกรรมผลิตภัณฑ์โครงการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประจำปี 2565

🎉ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ที่ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ โครงการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประจำปี 2565 ในงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 35 🎖️ชื่อผลงานนวัตกรรม MISS G.BEAN ROLLING  เป็นผลงานที่นักศึกษาสร้างสรรค์ขึ้นในการศึกษารายวิชา พัฒนานวัตกรรมในคลินิก ปีการศึกษา 2565 👨‍🏫อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์วุฒิพงษ์ เชื่อมนอก👧ทีมนักศึกษาพัฒนานวัตกรรม1) นางสาวพชรกร จิตเกษม2) นางสาวทักษพร วงศ์ปฏิมาพร3) นางสาวสุพัตรา ฉันทะกรณ์4) นางสาวณัฐธิดา รอดเจริญ5) นางสาวมัชฌิมา ใจดี6) นางสาวอาภัสรา กงศรี 👩‍⚕️🧑‍⚕️ปัจจุบันนักศึกษาที่ได้รับรางวัลสำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 👉ความเป็นมาของโครงการ: อาการปวดศีรษะจากความเครียดเป็นอาการที่พบได้มากที่สุดในกลุ่มอาการปวดศีรษะซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆและการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าวมีความไม่สุขสบาย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมไม้นวดลดอาการปวดศีรษะจากความเครียดและเปรียบเทียบระดับความปวดก่อนและหลังใช้นวัตกรรม

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด , อาจารย์ ดร.จีรศักดิ์ คำฟองเครือ และนายปฏิภาณ คำมณี สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ที่ได้รับรางวัล SILVER MEDAL จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด , อาจารย์ ดร.จีรศักดิ์ คำฟองเครือ และนายปฏิภาณ คำมณี สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ในผลงาน “คิวเอ เพาส์: ระบบประกันคุณภาพเชิงทำนายสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษาผู้ป่วยมะเร็ง” ( QA Pulse: Predictive Quality Assurance System of linear accelerator in Radiation Therapy using AI ) โดยได้รับรางวัล SILVER MEDAL จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ ผลงาน “คิวเอ เพาส์: ระบบประกันคุณภาพเชิงทำนายสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษาผู้ป่วยมะเร็ง” เป็นแนวคิดใหม่ของระบบประกันคุณภาพเครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษาที่เข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานเชิงรุกสำหรับบำรุงรักษา โดยแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่องเร่งอนุภาคก่อนที่เกิดความผิดพลาดของเครื่องมือที่เกิดกับค่าความคาดเคลื่อนทางคลินิกที่กำหนดไว้ ระบบนี้จะอาศัยข้อมูลประกันคุณภาพในอดีตกับการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์หรือเทคนิคปัญญาประดิษฐ์ เพื่อประเมินความล้มเหลวของเครื่องเร่งอนุภาคในอนาคต ประโยชน์ที่ได้รับ […]

ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันท์ธิดา ภัทราประยูร , อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีรภัทร อึ้งตระกูล สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ที่ได้รับรางวัล GOLD MEDAL (with the congratulations of the jury) จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันท์ธิดา ภัทราประยูร , อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีรภัทร อึ้งตระกูล สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ในผลงาน “เทคโนโลยีต้นทุนต่ำสำหรับการตรวจคัดกรองภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดด้วยปัญญาประดิษฐ์” ( Low-cost screening technology for neonatal jaundice using AI ) โดยได้รับรางวัล GOLD MEDAL (with the congratulations of the jury) จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ ผลงาน “เทคโนโลยีต้นทุนต่ำสำหรับการตรวจคัดกรองภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดด้วยปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีการตรวจภาวะตัวเหลืองสำหรับทารกแรกเกิดชนิดไม่รุกล้ำ โดยอาศัยอุปกรณ์ที่เข้าถึงได้ง่ายในทุกกลุ่มประชากร เพื่อให้ทารกทุกคนได้รับการเข้าถึงการตรวจคัดกรองและรักษาภาวะตัวเหลืองได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะสม โดยผ่านทางอุปกรณ์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สามารถใช้งานได้ง่าย ต้นทุนต่ำ เชื่อถือได้และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยังโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิผ่านเทคโนโลยีคลาวน์ จุดเด่นหรือความแปลกใหม่ […]