มะเร็งวิทยา
ค้นหาจากช่วงเวลา

เครื่องฉายรังสี รุ่น Ethos

การเลือกใช้เครื่องฉายรังสีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์การเลือกใช้เครื่องฉายรังสีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

หุ่นยนต์ผสมยาเคมีบำบัด” แม่นยำสูง ถูกคน ถูกยา ถูกขนาด

แนวโน้มการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น รวมถึงในโรงพยาบาล การใช้หุ่นยนต์จัดยา หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด รวมถึงหุ่นยนต์ผสมยาเคมีบำบัดแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาภรณ์นอกจากจะมุ่งเน้นการรักษาผู้ป่วยมะเร็งอย่างครบวงจรแล้ว การเลือกนำหุ่นยนต์ผสมยาเคมีบำบัด เทคโนโลยีจากประเทศแคนาดามาใช้ภายใต้การกำกับดูแลควบคู่กับองค์ความรู้ของเภสัชกร เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริการจึงนับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้า ภญ.นัฐฐยา สุนทรมณี กล่าวว่า ในส่วนงานเภสัชกรรมของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ นอกจากงานบริการจ่ายยา งานบริบาลเภสัชกรรมแล้ว ยังมีบริการเตรียมยาเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายด้วย ซึ่งเดิมเตรียมยาโดยเภสัชกร ภายในตู้ปราศจากเชื้อ ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของกลุ่มผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่เพิ่มมากขื้น จึงต้องเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการจึงเป็นที่มาของนวัตกรรมหุ่นยนต์ผสมยาเคมีบำบัดแบบครบวงจรที่ทำงานด้วยแขนกล และควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติในสภาวะปลอดเชื้อ ตามมาตรฐานการเตรียมยา คำนวณปริมาณยาจากการชั่งน้ำหนัก ซึ่งมีความจำเพาะตามความหนาแน่นของยาแต่ละชนิด และมีการถ่ายภาพยืนยันชนิดยาที่เตรียม อีกทั้งยังมีระบบทวนสอบความถูกต้องของยาได้ “หลักการทำงานและศักยภาพของหุ่นยนต์ผสมยาเคมีบำบัด จะทำได้ดีที่สุดกรณีที่เตรียมยาชนิดเดียวกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาลที่จะมีการวางแผนล่วงหน้าในการนัดผู้ป่วยที่ได้รับยาสูตรเดียวกัน มารับยาในวันเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับยารวดเร็ว ตรงตามเวลา ช่วยลดการแออัดและจัดระเบียบการให้บริการได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การจะเลือกนำเทคโนโลยีใดมาใช้ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ ทั้งในด้านความถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย หุ่นยนต์ผสมยาเคมีบำบัดแบบครบวงจรยังผ่านการรับรองมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงสำหรับเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์และองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาทำให้ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในความถูกต้องและปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วย การทำงานของหุ่นยนต์ผสมยา มั่นใจได้ว่ายาที่เตรียมสำหรับผู้ป่วยนั้น ถูกคน ถูกยา ถูกขนาดและมีความแม่นยำสูงแน่นอนและปลอดภัยทั้งกับผู้ปฏิบัติงานช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสยาโดยตรง” ขอขอบคุณข้อมูลจาก ภญ.นัฐฐยา สุนทรมณี งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

10 สัญญาณเสี่ยง “มะเร็ง”

“มะเร็ง” ภัยเงียบที่หลายคนคิดว่าไม่มีสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า แต่ในความเป็นจริงแล้วได้มีการส่งสัญญาณเตือนมาบ้างแล้ว แต่อาจจะไม่เฉลียวใจ หรือสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น 10 สัญญาณเตือนแบบไม่รุนแรงที่ต้องสังเกตตัวเอง หากพบความผิดปกติเหล่านี้ให้รีบมาพบแพทย์เพราะ มะเร็ง หากรู้เร็ว อาจนำมาสู่การรักษาได้อย่างทันท่วงที 10 สัญญาณเสี่ยง “มะเร็ง” 1. มีก้อนเนื้อบริเวณใต้ผิวหนัง 2. ผื่นคันบริเวณผิวหนัง 3. บาดแผลหายช้า 4. มีตุ่มบริเวณปากหรือลิ้น 5. กลืนลำบากหรือไม่รู้สึกหิว 6. ลำไส้มีการเปลี่ยนแปลง 7. ระบบปัสสาวะ ผิดปกติ 8. เลือดออก 9. เสียงเริ่มเปลี่ยนไป 10. ไอเรื้อรัง

เรื่องควรรู้ สู้ภัยมะเร็งตับ

มะเร็งตับในประเทศไทย หลักๆ ก็จะมี 2 ชนิด ก็คือ มะเร็งเซลล์ตับ กับ มะเร็งท่อน้ำดีในตับ สำหรับมะเร็งเซลล์ตับ มีปัจจัยความเสี่ยงสำคัญมาจาก “ไวรัสตับอักเสบบี” และ “ไวรัสตับอักเสบซี” และภาวะตับแข็ง ส่วนมะเร็งท่อน้ำดีในตับ มักจะพบในภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทยนั้น มีปัจจัยความเสี่ยงมาจากการรับประทานอาหารพวกปลาดิบ ซึ่งจะมีพยาธิใบไม้ในตับ ส่วนผลให้เสี่ยงเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ สำหรับไวรัสตับอักเสบบี ในคนปกติทั่วไปจะไม่สามารถรู้ได้เลย เพราะไม่มีอาการ โดยการติดต่อของไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดตอ่ได้จากแม่สู่ลูก และติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เคยมีการสำรวจ ว่าคนไทยมีไวรัสตับอักเสบบี มากน้อยแค่ไหน พบว่า มีคนไข้ประมาณ ร้อยละ 4.5 ที่มีไวรัสตับอักเสบอยู่ที่ตัวโดยที่ไม่รู้ตัว และเป็นกลุ่มคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน คือ กลุ่มคนที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 ดังนั้น คนที่เกิดก่อน พ.ศ. 2535 ควรต้องตรวจดูว่า เป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ ถ้ารู้ว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบี หรืออยู่ในหลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ต่อมะเร็งตับ เช่น ภาวะตับแข็ง ก็ควรปฏิบัติตัวแตกต่างจากคนทั่วไปเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ เช่น งดการดื่มแอลกอฮอล์, ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และควรตรวจคัดกรองมะเร็งตับด้วย เพราะสามารถช่วยวินิจฉัยมะเร็งในระยะเริ่มต้น […]

1 2