“ยา”กับการเดินทาง

ก่อนการเดินทาง เตรียมยาอย่างไร

สำหรับการเดินทางภายในประเทศด้วยรถยนต์จะไม่มีปัญหา ยกเว้นการเดินทางโดยสารเครื่องบิน โดยการพกยาที่เป็นของเหลว ต้องเป็นไปตามระเบียบการบิน หรือสามารถโหลดใต้เครื่องได้

สำหรับการเดินทางต่างประเทศ นักท่องเที่ยวอาจจำเป็นต้องเตรียมยาสำหรับการเจ็บป่วยเฉียบพลันหรือยาสำหรับโรคประจำตัวของตัวเอง ซึ่งแต่ละประเทศจะมีระเบียบและข้อจำกัดสำหรับการนำยาเข้าประเทศ เช่นห้ามนำยาที่สารเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ได้แก่ อนุพันธ์ของแอมเฟตามีนหรือยาบ้า หรือสารเสพติดบางอย่าง, ยาจิตเวชบางชนิด หรือกัญชาและส่วนประกอบภายในอาหาร เป็นต้น ดังนั้นต้องเช็คกฏระเบียบของแต่ละประเทศก่อนการเดินทางเสมอ

แต่สิ่งที่แนะนำให้หลีกเลี่ยงระหว่างการโดยสารในเครื่องบิน คือ อาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่ทำให้เกิดการมึนเมา , กัญชาหรือส่วนประกอบกัญชาภายในอาหาร อาจส่งผลทำให้มึนงง เวียนศีรษะหรือคลื่นไส้อาเจียนได้ และอาจหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแก๊ส เช่น น้ำอัดลม โซดา เพราะอาจทำให้เกิดภาวะท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องได้

คำถามที่ 2 เดินทางช่วงปีใหม่ ควรพกยาอะไรติดตัวไปบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางภายในหรือภายนอกประเทศ ยาที่แนะนำให้เตรียมไปคือยาสำหรับโรคประจำตัวและยาบรรเทาอาการทั่วไป

ยาสำหรับโรคประจำตัว นำไปให้เพียงพอสำหรับการเดินทางเพราะยาบางอย่างไม่มีตามร้านขายยาและต้องจ่ายโดยแพทย์ในโรงพยาบาลเท่านั้น สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ

  1. เก็บรักษายาให้อยู่ในสภาพเดิมให้ได้มากที่สุดเช่นมีชื่อยา ฉลากยา รวมถึงขนาดยาและวิธีการกินยาอย่างชัดเจน
  2. หากมีโรคเรื้อรังและต้องกินยาเฉพาะโรค นักท่องเที่ยวควรขอบันทึกการรักษารวมถึงชื่อยาทุกชนิดที่จ่ายจากแพทย์ และเก็บเอกสารไว้ติดตัวตลอดการเดินทาง หากขณะเดินทางแล้วมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยจะได้ยื่นเอกสารเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยรวมถึงยากับแพทย์ที่ทำการรักษา และถ้าเดินทางไปต่างประเทศ เอกสารควรเป็นภาษาอังกฤษ
  3. หากยาที่ติดตัวเป็นสารหรือส่วนประกอบที่ต้องห้าม หรือเป็นเข็มฉีดยาเช่น Insulin หรือยาฉีดเมื่อมีอาการแพ้ฉุกเฉินอย่าง EpiPen นักท่องเที่ยวต้องขอเอกสารถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ยา เพื่อนำไปยื่นกับเจ้าหน้าที่และสำแดงยาทุกครั้งก่อนการบิน

ส่วนยาบรรเทาอาการทั่วไป แนะนำเตรียมยาแก้ไข้พาราเซตามอล แก้ปวด ยาแก้แพ้ แก้ไอ เกลือแร่ หากมีอาการถ่ายเหลว โดยให้คำนึงถึงว่าบางจุดหมายปลายทางทั้งในและนอกประเทศ อาจหายาได้ลำบาก ดังนั้นอาจต้องจำลองเหตุการณ์ หากเรามีอาการอะไร ยาหรืออุปกรณ์ปฐมพยาบาลใดบ้างที่เราต้องเตรียมไป

ตรวจสุขภาพ เวชศาสตร์การเดินทางและวัคซีนในผู้ใหญ่

ชั้น 3 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง