รู้หรือไม่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบบีภัยเงียบก่อตับแข็ง มะเร็งตับ

คนเป็นไวรัสตับอักเสบ B สูงถึง 7-8 ล้านคนหรือเท่ากับ 1 ใน 10 คน โดยส่วนใหญ่จะเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ที่ไม่แสดงอาการส่วนมากจะตรวจพบการตรวจสุขภาพประจำปีตรวจก่อนทำงาน ก่อนผ่าตัด ไม่เช่นนั้นจะไม่รู้ตัวเลยที่แย่ไปกว่านี้ มากกว่า 50% ของคนไทยที่เป็นตับอักเสบบีเรื้อรังไม่รู้ว่าเป็นหรือรู้แต่ไม่พบแพทย์ทำให้บ่อยครั้งมาพบทีหลังว่าเป็นตับแข็งแล้วหรือเป็นมะเร็งตับในระยะหลัง ซึ่งจริง ๆ แล้วป้องกันได้ และรักษาได้ด้วยการพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ

อาการโรคไวรัสตับอักเสบ

ส่วนใหญ่ผู้ได้รับเชื้อจะไม่รู้ตัว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ

มีไข้ต่ำ ๆ
อ่อนเพลีย

ตัวเหลือง
ตาเหลือง

เบื่ออาหาร คลื่นไส้
อาเจียน

จุกแน่น
ใต้ชายโครงด้านขวา


การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกขณะคลอด
เป็นสาเหตุการติดเชื้อส่วนมากในประเทศไทย แต่ปัจจุบันการถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อลดลงมาก เพราะบุตรที่คลอดออกมาจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ

การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งผ่านทางบาดแผล

ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
เช่น มีดโกน, แปรงสีฟัน
หรือของใช้อื่น ๆ ที่มีเลือดติดอยู่

การมีเพศสัมพันธ์
ที่ไม่ได้ป้องกัน

การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
การใช้เข็มสักตามตัว และการเจาะหูร่วมกันกับคนที่มีเชื้อ


แบ่งได้เป็น

2 กลุ่มคือ…

1. พาหะ คือ…

ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแฝงอยู่ในร่างกาย
โดยผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่ยังสามารถแพร่เชื้อ
สู่ผู้อื่นได้ถึงแม้ผลเลือดที่ใช้ตรวจการทำงานของ
ตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงควรตรวจหาไวรัสตับ
อักเสบบีก่อนแต่งงาน หรือมีเพศสัมพันธ์

2. ตับอักเสบเรื้อรัง คือ…

ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกายและ
ตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
โดยอาจจำเป็นต้องได้รับยารักษาไวรัสตับ
อักเสบบีอย่างต่อเนื่อง

** ผู้ป่วยส่วนมากทั้งที่เป็นพาหะ และตับอักเสบเรื้อรังมักไม่มีอาการ โดยอาจมีอาการเมื่อเกิดภาวะตับแข็ง เช่น อาการดีซ่าน ท้องมานหรือมะเร็งตับซึ่งเป็นผลที่ตามมาของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง


ไม่ว่าจะเป็นพาหะ หรือเป็นกลุ่มตับอักเสบก็ถือว่าเป็นกลุ่มความเสี่ยง จึงต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำทุก 6 เดือนโดยแพทย์จะตรวจค่าตับ ค่าตับอักเสบบีและ Ultrasound ตับ เพื่อดูว่ามีก้อนผิดปกติอะไรที่ตับหรือไม่ เพราะก้อนมะเร็งขนาดเล็ก ๆ คนไข้จะไม่มีอาการ แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ง่าย


เกี่ยวกับทางการแพทย์

รับประทานยาและปฎิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์

เข้ารับการตรวจเลือด
ตามนัดหมาย

งดบริจาคเลือด

พบแพทย์ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพื่อตรวจการทำงานของตับ และคัดกรองหามะเร็งตับในระยะแรก

คนใกล้ชิด

งดการใช้ของร่วมกับผู้อื่น
โดยเฉพาะของที่ปนเปื้อนเลือดได้
เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน

บอกให้คนใกล้ชิดทราบ
ว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
เพื่อให้ระวังตัว

ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
เวลามีเพศสัมพันธ์

การปรับตัวและพฤติกรรม

✅งดดื่มสุราและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
✅ไม่รับประทานยาที่ไม่จำเป็น
✅งดสูบบุหรี่
✅หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง

✅พักผ่อนให้เพียงพอ
✅ออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ
✅รับประทานอาหารที่สุกสะอาด

🎯 แนะนําให้ผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ฉีดวัคซีนป้องกัน “ไวรัสตับอักเสบบี”

🏥 อายุรกรรมทางเดินอาหารและตับ ชั้น 2
ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์