โรคหลอดเลือดสมองตีบ

โรคหลอดเลือดสมองตีบคืออะไร?

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออัมพฤกษ์ อัมพาต (stroke) คือโรคที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ทำให้สมองขาดเลือดโดยฉับพลัน เมื่อเซลล์สมองเสียหาย คนไข้จะมีอาการทางระบบประสาทตามตำแหน่งที่มีการขาดเลือด

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ

มีวัตถุประสงค์เพื่อสลายลิ่มเลือดโดยเร็วให้สมองขาดเลือดน้อยที่สุด แบ่งเป็น

  • การให้ยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ จะให้เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลภายใน 4.5 ชั่วโมง และไม่มีข้อห้าม
  • การใส่สายสวนเพื่อลากลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดใหญ่ในสมองอุดตัน เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลเร็วภายใน 6-24 ชั่วโมง และมีข้อบ่งชี้ในการทำ
  • การให้ยาต้านเกล็ดเลือด จะให้ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการน้อย หรือมาเกินระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่มีข้อบ่งชี้ในการให้ยาสลายลิ่มเลือดหรือการสวนลากลิ่มเลือดดัง

ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมองตีบทุกคนไม่ว่าจะมีอาการชั่วคราว อาการน้อยหรือมาก ควรมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการเข้ารับการรักษา เนื่องจากหากเวลาผ่านไป สมองจะขาดเลือดมากขึ้น ทำให้ความรุนแรงของโรคเป็นมากขึ้นกว่าคนที่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

  • ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด ควบคุมความดันโลหิต ชีพจรระหว่างนอนโรงพยาบาล
  • ได้รับการสังเกตอาการทางระบบประสาทอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์และพยาบาล
  • ได้รับคำแนะนำการรักษา การใช้ยา
  • ได้รับการตรวจหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่างๆของโรคหลอดเลือดสมองตีบ เช่น การตรวจค่าน้ำตาลและไขมันในเลือด การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สมอง (MRI brain) หรือการตรวจหัวใจโดยละเอียด ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย
  • ได้รับการประเมินทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • ได้รับคำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนกลับบ้าน
  • พักผ่อนและสังเกตอาการในช่วง 7 วันแรกอย่างใกล้ชิด
  • หากมีอาการแย่ลง หรือมีอาการอื่นๆที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ให้กลับมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
  • ระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น สำลัก แผลกดทับ หกล้ม
  • กายภาพฟื้นฟูต่อเนื่อง รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเมื่ออาการคงที่แล้ว
  • รับประทานยาอย่างเคร่งครัด
  • รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
  • พักผ่อนและสังเกตอาการในช่วง 7 วันแรกอย่างใกล้ชิด
  • หากมีอาการแย่ลง หรือมีอาการอื่นๆที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ให้กลับมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
  • ระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น สำลัก แผลกดทับ หกล้ม
  • ทำกายภาพอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานยาอย่างเคร่งครัด

การกายภาพฟื้นฟู การกายภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปดำรงชีวิตให้ได้ดีที่สุด ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกที่เน้นการฝึกในแขนขาข้างที่มีอาการอ่อนแรง เพื่อให้ฟื้นฟูกำลังและป้องกันข้อต่อติด รวมถึงการฝึกการพูดและประเมินการกลืนเพื่อป้องกันการสำลัก ในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านภาษาร่วมด้วย ควรให้กำลังใจและพยายามให้ผู้ป่วยได้พยายามสื่อสารด้วยตัวเอง

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัดหรืออาหารไขมันสูง ไม่รับประทานอาหารในแต่ละมื้อที่มากเกินไป หลีกเสี่ยงอาหารว่างระหว่างมื้อ และงดอาหารจำพวกเครื่องดื่มที่มีรสหวาน

  • ปรุงอาหารด้วยวิธีต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ย่าง ยำ
  • ไม่ควรใช้น้ำมันเกินวันละ 6 ช้อนชา
  • รับประทานไข่แดง ไม่เกินสัปดาห์ละ 3 ฟอง
  • ใช้น้ำมันพืชที่ดีในการทำอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว และควรใช้เพียงครั้งเดียว
  • เลือกรับประทาน
    • ไขมันดีจากถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่างๆ เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนลา น้ำมันเมล็ดชา
    • เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลา เนื้อไก่ไม่ติดมันไม่ติดหนัง
    • นมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนย
  • หลีกเลี่ยง
    • เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
    • อาหารทะเลบางชนิด เช่น ปลาหมึก หอยนางรม กุ้ง
    • ไขมันอิ่มตัว เช่น หมูสามชั้น เนยครีม กะทิ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว

  • เลือกรับประทาน
    • ปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแม็คคลอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาจะละเม็ดขาว ปลากะพงขาว ปลาดุก ปลาสวาย ปลาทู ปลาสลิด ปลาตะเพียน
    • เต้าหู้ นมพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย
  • หลีกเลี่ยง
    • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ลูกชิ้น ไข่เค็ม ปลาเค็ม
    • เต้าหู้ นมพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย
  • ทานโซเดียมไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม หรือทานเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน หรือน้ำปลาไม่เกิน 4 ช้อนชา
  • ปรุงอาหารรสอ่อนเค็ม และไม่ใส่ผงชูรส
  • หลีกเลี่ยง
    • อาหารหมักดอง ได้แก่ ปลาเค็ม กะปิ ผลไม้ดอง แหนม ปลาสับ หน่อไม้ดอง
    • อาหารรสหวานและเค็มจัด เช่น หมูแผ่น หมูหยอง หมูสวรรค์ กุนเชียง
    • อาหารสำเร็จรูปและอาหารฟาสต์ฟู้ด เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กชอง แฮมเบอเกอร์ เฟรนซ์ฟรายด์
    • อาหารกระป๋อง และขนมกรุบกรอบ
    • อาหารที่เติมผงฟู เช่น เค้ก เบเกอรี ขนมปัง คุกกี้
  • ทานโซเดียมไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม หรือทานเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน หรือน้ำปลาไม่เกิน 4 ช้อนชา
  • ปรุงอาหารรสอ่อนเค็ม และไม่ใส่ผงชูรส
  • หลีกเลี่ยง
    • อาหารหมักดอง ได้แก่ ปลาเค็ม กะปิ ผลไม้ดอง แหนม ปลาสับ หน่อไม้ดอง
    • อาหารรสหวานและเค็มจัด เช่น หมูแผ่น หมูหยอง หมูสวรรค์ กุนเชียง
    • อาหารสำเร็จรูปและอาหารฟาสต์ฟู้ด เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กชอง แฮมเบอเกอร์ เฟรนซ์ฟรายด์
    • อาหารกระป๋อง และขนมกรุบกรอบ
    • อาหารที่เติมผงฟู เช่น เค้ก เบเกอรี ขนมปัง คุกกี้
  • ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำอาหารหลังทดสอบการกลืน เพื่อป้องกันการสำลัก
  • ควรเป็นอาหารที่มีกากน้อย และดัดแปลงอาหารโดยการปั่น เช่น โจ๊กข้นๆ ไข่ตุ๋น เยลลี่ สังขยา ฟักทองบด ซุปข้นปั่น

การใช้ยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ยาที่มีความสำคัญในโรคหลอดเลือดสมองตีบได้แก่ ยาต้านเกล็ดเลือดเลือด(antiplatelet) และยาต้านการแข็งตัวของเลือด(anticoagulant) โดยทั่วไปผู้ป่วยส่วนมากจะได้ยาต้านเกล็ดเลือด(antiplatelet) เป็นหลัก แต่ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจะได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด(anticoagulant) ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการเลือกให้ยาในผู้ป่วยแต่ละราย

การทานยามีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบในครั้งต่อไป จำเป็นต้องทานตลอดชีวิต แม้ว่าอาการโรคหลอดเลือดสมองจะเป็นแค่ชั่วคราวหรืออาการหายแล้วก็ตาม โดยการทานยาจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำได้มากกว่าคนที่ไม่ทานยา

นอกจากกลุ่มยาต้านเกล็ดเลือดและยาต้านการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยจะได้รับยาลดระดับไขมันในเลือดทานร่วมด้วยแม้ว่าจะไม่ได้มีค่าไขมันในเลือดสูงผิดปกติ รวมถึงจะได้รับยาเคลือบกระเพาะอาหารเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด

ยาต้านเกล็ดเลือด (antiplatelet)

เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ได้แก่ ยาแอสไพริน (aspirin) ยาโคลพิโดเกรล (clopidogrel), ซิลอสตาซอล (cilostazol)

  • ทานยาตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด
  • รับประทานยาสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาเองหากไม่จำเป็น
  • หากลืมทานยา ให้รีบทานทันทีที่นึกได้ แต่หากเป็นเวลาใกล้เคียงกับมื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปได้เลย ไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า หรือมากกว่าปกติ
  • ระมัดระวังในการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การล้มหรือการกระแทก
  • หากจำเป็นต้องทำหัตถการหรือผ่าตัด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดยา โดยทั่วไปต้องหยุดยาประมาณ 5-7 วัน ขึ้นกับชนิดของยา
  • เกิดแผลในทางเดินอาหาร อาจทำให้ปวดท้อง หรือมีเลือดออกในทางเดินอาหารได้ เช่น ยาแอสไพริน (aspirin)
  • อาจมีอาการปวดหรือเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เช่น ยาซิลอสตาซอล (cilostazol)
  • อาจมีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดออกตามไรฟัน จ้ำเลือดที่ผิวหนัง จนถึงภาวะเลือดออกรุนแรง เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด รวมถึงเลือดออกในสมองได้

อาการไม่พึงประสงค์ต่างๆขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละคน กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเลือดออกง่าย ได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคร่วม เช่น โรคตับ โรคไต โรคมะเร็ง ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางหรือเกล็ดเลือดต่ำ ผู้ที่มีประวัติเลือดออกรุนแรงจนต้องให้เลือด รวมถึงผู้ที่ทานสมุนไพร หรือ อาหารที่มีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด เช่น น้ำมันตับปลา โสม ใบแปะก๋วย เป็นต้น

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant)

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด คือยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในร่างกาย โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว (atrial fibrillation) หรือ โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valvular heart disease)จะได้รับยากลุ่มนี้ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ยา วาร์ฟาริน (warfarin), ดาบิกาแทรน (dabigatran), ไรวารอคซาแบน (rivaroxaban), เอพิซาแบน (apixaban), อีดอกซาแบน (edoxaban)

  • หลักการและวิธีการทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะแตกต่างกันไปตามชนิดและหลักการการออกฤทธิ์ของยาแต่ละตัว แนะนำให้ทานยาตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด
  • รับประทานยาตามเวลาที่แพทย์สั่งเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน ตามขนาดและปริมาณที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • หากลืมทานยา ในกรณีที่ไม่เกิน 12 ชั่วโมงให้รีบทานยาทันทีที่นึกได้ในขนาดยาเท่าเดิม หากลืมเกิน 12 ชั่วโมง ให้ข้ามยามื้อนั้นไป และทานยามื้อต่อไปในขนาดเดิมและเวลาเดิม ห้ามเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าเองเด็ดขาด
  • การรับยานี้ต้องเจาะเลือดตรวจเป็นระยะ ทุก 2-3 เดือน โดยปกติจะตรวจค่าไอเอ็นอาร์(INR) โดยค่าที่ต้องการจะอยู่ในช่วง 2-3 และแพทย์จะใช้ค่านี้เป็นตัวช่วยในการปรับยา
  • ยาบางชนิด อาหารเสริม สมุนไพร ยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน อาจมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน ทำให้ระดับยาสูงหรือต่ำมากจนเกิดอันตราย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้งที่จะรับประทานยาอื่นร่วม

อย่าละเลย ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบต้องเผชิญความผิดปกติของร่างกาย ไม่สามารถดูแลหรือช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนเดิม ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นมาได้ ภาวะซึมเศร้าสามารถเกิดได้ตั้งแต่กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ไปยังผู้ป่วยที่มีอาการมาก  โดยความรุนแรงของอาการซึมเศร้าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ตำแหน่งรอยโรคในสมอง สภาพแวดล้อมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาด้านการสื่อสาร ผู้ดูแลควรสังเกตอาการที่สงสัยภาวะซึมเศร้าได้แก่ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง ความคิดอ่านถดถอย เบื่ออาหารหรือกินจุมากขึ้นผิดปกติ นอนไม่หลับ อ่อนเพลียไม่มีแรง ไม่ร่วมมือในการกายภาพฟื้นฟู รู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ อยากตาย โดยหากมีอาการเหล่านี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพราะโดยมากหากได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะลดอาการลงได้มากและหายได้