New Normal 5 หัวข้อกับบริการทางการแพทย์ปรกติวิถีใหม่ เพื่อทุกชีวิตปลอดภัยเมื่อมาใช้บริการที่ “เรา”

หาหมอสไตล์ New Normal รักษาแบบมีระยะห่าง “ปรกติวิถีใหม่”เพื่อทุกชีวิตปลอดภัย ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพราะทุกชีวิตของคนไข้คือหัวใจของเรา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์จึงให้ความสำคัญและใส่ใจในทุกมาตรการควบคุม และป้องกัน โดยยึดหลัก 5 หัวข้อกับบริการทางการแพทย์ปรกติวิถีใหม่ เพื่อทุกชีวิตปลอดภัยเมื่อมาใช้บริการที่ “เรา” 

1) Touchless Medical Service Experience รักษาระยะห่าง ไร้การสัมผัส
1. บริการหาหมอผ่านมือถือ Telemedicineหาหมอได้ทุกที่โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล บริการสำหรับผู้ป่วยที่มีนัดหมายแพทย์ กับศูนย์และคลินิกต่างๆ สามารถขอใช้บริการ Telemedicine หาหมอผ่านมือถือกับศูนย์การรักษาต่างๆ ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อลดการเดินทางมาโรงพยาบาล
2. บริการช่องทางปรึกษาโรคมะเร็งผ่าน LINEบริการปรึกษาแพทย์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ และผู้ป่วยเก่าที่มีนัดติดตามอาการผ่าน LINE Official Account โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อลดจำนวนครั้งการมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น
3. บริการชำระเงิน E-Paymentsเพื่ออำนวยความสะดวกและลดระยะเวลาการรอคอย หลังพบแพทย์เสร็จเรียบร้อยผู้รับบริการสามารถแจ้งหมายเลขการเข้ารับบริการ (VN) ที่ตู้คิวแล้วกลับบ้านได้ทันที ทางโรงพยาบาลจะจัดส่ง SMS ถึงท่านเพื่อแจ้งยอดค่ารักษาซึ่งท่านสามารถชำระได้ผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคาร หรือสแกนจ่ายผ่าน QR code
4. เพิ่มช่องทางบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์แบบ EMS และรับยาแบบ Drive-Thruสำหรับผู้ป่วยที่มียากลับบ้าน เรามีบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ รวมถึงการรับยาโดยไม่ต้องลงจากรถ สำหรับยาบางประเภทที่ไม่สามารถจัดส่งทางไปรษณีย์ได้ในกรณีผู้ป่วยหาหมอผ่านระบบ Telemedicine
5. ระบบติดตามดูแลผู้ป่วยบน Ward แบบไร้สัมผัสติดตามผู้ป่วยบน Ward ด้วยหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ หรือระบบติดตามออนไลน์ 

2) Physical Distancing เว้นห่าง ทุกจุด ลดความแออัด
1. จัดบริเวณทุกจุดพักคอย เว้นห่างกัน 1 – 1.5 เมตรทุกพื้นที่ให้บริการ จัดจุดรอคิวและสถานที่นั่งคอยให้มีระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
2.มีฉากกั้นแบ่งส่วนระหว่างผู้ให้บริการและผู้ป่วยด้วย
3 Shield: Face Shield, Counter Shield, Cashier Shield3. กำหนด “ช่วงเวลา” นัดพบแพทย์ 15 นาทีต่อรายให้แพทย์ทุกคลินิกทำการกำหนดเวลานัดหมายการตรวจผู้ป่วยทุก 15 นาทีต่อ 1 ราย เพื่อลดเวลาการรอคิวในโรงพยาบาล และแยกผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน หรือไม่ได้มีนัดไปตรวจ ณ บริเวณที่ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมไว้
4. กำหนดให้มีญาติผู้ติดตามผู้ป่วยนอก (OPD) จำนวน 1 คนยกเว้นกรณีผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้รถนั่งหรือนอน ให้มีญาติติดตามได้ 2 คน โดยทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ติดตามจะต้องติดสติ๊กเกอร์แสดงตัวตลอดเวลาที่อยู่ภายในอาคาร
5. กำหนดให้ญาติเฝ้าไข้ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล (IPD) จำนวน 1 คน
6. งดการเยี่ยมผู้ป่วยทุกกรณีแนะนำให้ใช้โทรศัพท์หรือวิดิโอคอลแทนการเดินทางมาเยี่ยมไข้ที่โรงพยาบาล ยกเว้น กรณีทีมผู้รักษานัดญาติประชุมครอบครัวเพื่อวางแผนแนวทางการรักษา 

3) Extra Screening คัดกรองอย่างเข้มงวด ค้นหาทุกความเสี่ยง
1. นำเทอร์โมสแกนวัดอุณหภูมิและคัดกรองประวัติทุกคนก่อนเข้าอาคารโรงพยาบาล
2. กลุ่มเสี่ยงเข้าเกณฑ์สงสัยการติดเชื้อห้ามเข้าอาคารโรงพยาบาลกลุ่มอาการเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จากจุดคัดกรองประวัติ จะต้องไปตรวจรักษาที่คลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ (ARI Clinic) ณ อาคารสำเร็จรูป ด้านหน้าศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ
3. สวมหน้ากากตลอดเวลาภายในอาคารผู้ป่วย ญาติผู้ติดตาม และบุคลากรทุกคน ต้องสวมหน้ากากตลอดเวลาในอาคารโรงพยาบาล
4. คัดกรองความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยมะเร็งใหม่ทุกรายและผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงผู้ป่วยมะเร็งที่จะเริ่มหัตถการ หรือเข้ารับการรักษา รวมถึงผู้ป่วยผ่าตัด ทำหัตถการที่มีความเสี่ยง และผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตหากติดเชื้อโควิด-19 จะได้รับการตรวจหาเชื้อและภูมิคุ้มกันโควิด-19 เพื่อให้การติดตามโรคได้ครอบคลุม และควบคุมการแพร่เชื้อ
5. คัดกรองความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ในบุคลากรของโรงพยาบาลที่ต้องสัมผัสดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงทุกคนเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการแพร่เชื้อจากบุคลากรในโรงพยาบาลไปสู่ผู้ป่วย 

4) Care for Personal Hygiene ใส่ใจ สุขอนามัยเชิงรุก
1. จัดเตรียมแอลกอฮอล์เจลล้างมือให้ทุกคนสามารถล้างมือได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลา
2. งดให้แพทย์ใส่เสื้อกาวน์และผูกเนคไท
3. งดการใช้หมวกพยาบาลโดยเปลี่ยนเป็นหมวกใช้แล้วทิ้งแทนหมวกเดิม
4. บุคลากรทุกคนต้องเคร่งครัดมีวินัยด้วยการล้างมือก่อนและหลังการตรวจผู้ป่วยทุกราย 

5) Safe & Clean สะอาด ปลอดภัย ไร้กังวล
1. เช็ดทำความสะอาดทุกจุดสัมผัสร่วมเช็ดบันไดเลื่อนทุก 30 นาที และลิฟต์ทุก 1 ชั่วโมง
2. ทำความสะอาดพร้อมฆ่าเชื้อภายในอาคารและหน่วยบริการ วันละ 2 ครั้ง
3. ทำความสะอาดฆ่าเชื้อเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วยทุกครั้งหลังใช้กับผู้ป่วยแต่ละราย
4. แยกขยะหน้ากากที่เป็นขยะติดเชื้อจากขยะทั่วไป
5. ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อในรถตู้ให้บริการผู้ป่วยระหว่างอาคารทุกรอบการเดินรถ