โรคลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติค ตีบอย่างรุนแรง (Severe aortic stenosis)

ลิ้นหัวใจตีบ หรือ Aortic stenosis คือโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ โดยมีอาการที่พบบ่อยคือ

1. เจ็บหน้าอก

2. เป็นลม

3. เหนื่อย

สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจตีบ

  1. อายุที่มากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
  2. กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจรูมาติก หรือผิดปกติแต่กำเนิด เช่น มีลิ้นหัวใจ 2 ฝา (ปกติมี 3 ฝา)

การตรวจวินิจฉัย

  1. การตรวจด้วยวิธีฟังหัวใจ โดยแพทย์
  2. การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (ECHO)

การรักษา

โรคนี้ไม่สามารถรักษาประคองการอาการโดยการให้ยาได้ จึงต้องใช้การรักษาโดยการทำหัตถการ

  1. การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
  2. การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวน (TAVI) ใช้รักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจากการผ่าตัดสูง

การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม เป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากอัตราค่าลิ้นหัวใจเทียมราคาลิ้นละ 1 ล้านบาท ทำให้ยังมีผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้อยู่อีกมาก

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ นำการรักษาโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ TAVI อีกหนึ่งทางเลือกเพื่อการรักษาโรคลิ้นหัวใจตีบ ผสานทุกความเชี่ยวชาญเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสู่ประชาชน ขอเชิญผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวจากโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบขั้นรุนแรง ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่าต้องทำหัตถการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์แล้ว สามารถประสานส่งต่อผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอ-ออร์ติกเทียมผ่านสายสวน (TAVI) โดยผู้ที่ผ่านการพิจารณาได้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการรักษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดได้ที่ สายด่วนโรคหัวใจ 06 4585 5197

แพทย์หญิงธัญรัตน์ อร่ามเสรีวงศ์

ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์