โรคปอดบวมและโรคติดเชื้อในกระแสเลือด จากเชื้อนิวโมคอคคัส

ป้องกัน คุณและคนที่คุณรักจากโรคปอดบวม และ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด

จากเชื้อ นิวโมคอคคัส

เชื้อนิวโมคอคคัส คืออะไร

เชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีหลายสายพันธุ์ เป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดบวมโรคติดเชื้อในกระแสเลือด

เชื้อนิวโมคอคคัส อาศัยอยู่ในโพรงจมูก และลำคอของทุกคนสามารถแพร่กระจายผ่านทางละอองการไอหรือจาม

โรคไข้หวัดใหญ่และโรคปอดบวม จากเชื้อนิวโมคอคคัส เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

เนื่องจากผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัสซ้ำซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

จึงมีคำแนะนำให้ผู้มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุควรได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคนิวโมคอคคัส เช่น เดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่

อาการของโรคปอดบวม สังเกตอาการ

  • ไข้
  • ไอ
  • หนาวสั่น
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจลำบาก

คุณอาจเสี่ยงเป็น โรคปอดบวม จากเชื้อนิวโมคอคคัส ถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยง 1 ข้อ หรือมากกว่านั้น

  • อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี
  • เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือโรคไต
  • โรคหอบหืด
  • โรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ผู้ป่วยติดเชื้อ เอชไอวี
  • โรคมะเร็ง
  • ภาวะม้ามไม่ทำงานหรือไม่มีม้าม
  • ใส่ชุดประสาทหูเทียม
  • น้ำไขสันหลังรั่ว
  • สูบบุหรี่
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง

รู้หรือไม่ว่า?

ทำไมผู้ใหญ่จึงควรสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส ตั้งแต่อายุ 65 ปี อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคต่างๆ ของร่างกายเสื่อมถอยลงทำให้มีโอกาสติดเชื้อนิวโมคอคคัสง่ายกว่า เมื่อเทียบกับคนวัยหนุ่มสาว ดังนั้น การเสริมภูมิคุ้มกันก่อนการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เสมือนการสร้างเกาะป้องกันให้กับร่างกาย ก่อนเชื้อร้ายจะก่อโรครุนแรง

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด
  • ล้างมือให้สะอาด
  • สวมหน้ากากอนามัย ปิดปาก และจมูกเวลาไอจาม

อ้างอิง :

  1. Centers for Disease Control and Prevention [Internet]. Pneumococcal Disease/Transmission and Those at High Risk; 2013. [cited2015 June 6] Available from: https://www.cdc.gov/pneumoccol/about/risk-transmission.html
  2. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย.คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ.2557; 1-2
  3. Kriangkrai Tawinprai M.D., M.Sc. Infectious disease specialist, Department of Medicine, Chulabhorn Hospital. Assistant Director, Chulabhorn Hospital.