เรื่องควรรู้ สู้ภัยมะเร็งตับ

มะเร็งตับในประเทศไทย หลักๆ ก็จะมี 2 ชนิด ก็คือ มะเร็งเซลล์ตับ กับ มะเร็งท่อน้ำดีในตับ สำหรับมะเร็งเซลล์ตับ มีปัจจัยความเสี่ยงสำคัญมาจาก “ไวรัสตับอักเสบบี” และ “ไวรัสตับอักเสบซี” และภาวะตับแข็ง ส่วนมะเร็งท่อน้ำดีในตับ มักจะพบในภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทยนั้น มีปัจจัยความเสี่ยงมาจากการรับประทานอาหารพวกปลาดิบ ซึ่งจะมีพยาธิใบไม้ในตับ ส่วนผลให้เสี่ยงเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ

สำหรับไวรัสตับอักเสบบี ในคนปกติทั่วไปจะไม่สามารถรู้ได้เลย เพราะไม่มีอาการ โดยการติดต่อของไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดตอ่ได้จากแม่สู่ลูก และติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เคยมีการสำรวจ ว่าคนไทยมีไวรัสตับอักเสบบี มากน้อยแค่ไหน พบว่า มีคนไข้ประมาณ ร้อยละ 4.5 ที่มีไวรัสตับอักเสบอยู่ที่ตัวโดยที่ไม่รู้ตัว และเป็นกลุ่มคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน คือ กลุ่มคนที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535

ดังนั้น คนที่เกิดก่อน พ.ศ. 2535 ควรต้องตรวจดูว่า เป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ ถ้ารู้ว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบี หรืออยู่ในหลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ต่อมะเร็งตับ เช่น ภาวะตับแข็ง ก็ควรปฏิบัติตัวแตกต่างจากคนทั่วไปเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ เช่น งดการดื่มแอลกอฮอล์, ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และควรตรวจคัดกรองมะเร็งตับด้วย เพราะสามารถช่วยวินิจฉัยมะเร็งในระยะเริ่มต้น ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้

สำหรับคนที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่แล้ว แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งเซลล์ตับ ด้วยการทำอัลตราซาวด์ตับ ทุก 6-12 เดือน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

ใครบ้าง…เสี่ยงมะเร็งตับ

บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเซลล์ตับ ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับหนึ่ง คือ ผู้ที่มีไวรัสอักเสบบี รองลงมา คือ กลุ่มคนไข้ที่เป็นตับแข็งจากไวรัสตับอักเสบซี หรือ แอกอฮอล์ นอกจากนั้นก็จะเป็นกลุ่มภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรืออ้วน เพราะความอ้วนถ้าทิ้งไว้นานๆ จะมีภาวะไขมันพอกตับ และถ้ายังปล่อยทิ้งตอ่ไปอีกก็จะมีภาวะตับแข็งตามมา ซึ่งกลายเป็นความเสี่ยงที่ก่อเกิดให้เป็นมะเร้งตับได้เช่นกัน

ส่วนสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากแม่สู่ลูก จากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และจกาการติดต่อทางเข็มฉีดยา หรือผ่านทางการให้เลือด

สำหรับการติดต่อทางแม่สู่ลูกนั้น ปัจจัยเริ่มมีน้อยลง เนื่องจากมีการให้วัคซีนในเด็กแรกเกิด ส่วนการติด่ต่ออีกช่องทางคือ การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ระวหว่าสามี  และภภรรยา เช่น สามีอาจจะมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อนอยู่แล้วแต่ไม่รู้ตัวว่าเป็น เพราะไม่เคยตรวจมาก่อน และภัรรยาได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากสามี โดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองได้เชื้อจากสามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เป็นต้น

ส่วนการติดต่อกันทางเข็มฉีดยา หรือ ตอดต่อทางเลือด โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติในการใช้ยาเสบติดโดยใช้เข็มร่วมัน ก็นับเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญของการติดเชื้อวัรัสตับอักเสบบี

การรักษามะเร็งเซลล์ตับส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ซึ่งการรักษาถ้าพบในระยะเริ่มต้น วีธีการรักาหลัก คือ การผ่าตัด ร่วมถึงการผ่าตัดเปลี่ยนตับ แต่ถ้าเป็นในระยะที่เริ่มลุกลามแล้ว เช่น การะจายไปตอ่มน้ำเหลือง หรอืไปเส้นเลือด ปัจจุบันจะรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดหรือการฝังแร่เฉพาะที่ แต่ถ้าโรคมีการลุกลามมากขึ้นจะรักษาด้วยวีธีการอื่น เช่น การใช้ยาเคมีบำบัดหรือการรกัษาด้วญยาแบบมุ่งเป้า โดยกจะมีค่าใช้จ่ายในการรกัษาสูง

 และโรคไม่สามารถหายขาดได้ ซึ่งจะแต่กต่างกับการตรวจพบมะเร็งเซวล์ตับในระยะเริ่มต้นที่จะช่ว่ยรักษาให้หายขาดได้

ขอบคุณข้อมูล นายแพทยืธีรภัทร  อึ้งตระกูล

แพทย์เฉพาะทาง สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์