รายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ตั้งแต่วันที่ 25-30 มิถุนายน 2564 มีจำนวนผู้ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มทั่วประเทศ 67,992 ร้อยละ 97 ไม่พบอาการผิดปกติ

รายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ตั้งแต่วันที่ 25-30 มิถุนายน 2564 มีจำนวนผู้ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มทั่วประเทศ 67,992 ร้อยละ 97 ไม่พบอาการผิดปกติ

อาการข้างเคียงระหว่างรอสังเกตอาการหลังฉีดวัคซีน (15-30 นาที) พบผลข้างเคียง 0.1% (พบเพียง 100 ราย จากจำนวน 67,992 ราย)อาการที่พบบ่อยหลังรับวัคซีน ได้แก่ เวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ทุกรายมีอาการเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง

ติดตามอาการข้างเคียงภายหลังรับวัคซีนซิโนฟาร์ม 1 วันราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้จัดส่ง sms ถึงผู้รับบริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม 1 วันหลังวันกำหนดฉีด พบว่ามีผู้ตอบกลับ sms จำนวน 17,154 ราย คิดเป็น 25% ของผู้รับบริการวัคซีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ ในจำนวนผู้รายงานว่าพบอาการผิดปกตินั้น พบว่าอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยตามลำดับ ดังนี้

• ปวดศรีษะ (2.3%)

• อ่อนเพลีย (1.7%)

• ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (1.7%)

• ปวดบวมบริเวณที่ฉีดยา (1.6%)

• ไข้ (1.5%)

ซึ่งสอดคล้องกับผลการรายงาน evidence assessment: Sinopharm/BBIBP COVID-19 vaccine ของ WHO :ซึ่งรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีดยา ปวดศรีษะและอ่อนเพลีย

ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลให้กับผู้ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีความเป็นห่วงในความปลอดภัยของผู้รับบริการวัคซีนทุกราย โดยวัคซีนซิโนฟาร์มทุกโดสรวมประกันความคุ้มครองจากบริษัท เมืองไทยประกันภัย เพื่อรองรับการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ ที่เกิดขึ้น โดยผู้ฉีดวัคซีนสามารถเคลมประกันเข้ารับการรักษาอาการที่เกิดจากวัคซีน โดยจากรายงานบริษัทประกัน พบว่า ตั้งแต่วันที่ 25-30 มิถุนายน 2564 มีผู้รับบริการฉีดวัคซีนแล้วขอเคลมประกันรักษาพยาบาลอาการไม่พึงประสงค์โดยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 8 ราย และพบว่า “ยังไม่มีการรายงานอาการรุนแรงจากการรับวัคซีนซิโนฟาร์มเลย”

ข้อมูล ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2564