การแพทย์และสาธารณสุข
ค้นหาจากช่วงเวลา

อุปกรณ์ที่ต้องมีในบ้านเมื่อต้อง ”กักตัว” 🏠

แอลกอฮอล์ ที่มีเอทานอลเข้มข้นเกิน 70% ถังขยะ ที่มีฝาปิดมิดชิด เป็นถังขยะแบบที่ใช้เท้าเหยียบเปิดฝาถัง หน้ากากอนามัย และ กระดาษทิชชู ปรอทวัดไข้ แยกใช้ของผู้ดูแลใกล้ชิดและของผู้ป่วย

การดูแลตัวเองขณะอยู่บ้านเมื่อติดโควิด ก่อนรอเข้าโรงพยาบาล

แยกห้องนอนและของใช้ แยกตัวเอง การรับประทานอาหาร แยกของใช้ การใช้ห้องสุขา แยกขยะแยกการใช้ห้องน้ำ ข้อควรปฏิบัติสำคัญ ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือสบู่และน้ำบ่อย ๆ สวมหน้ากาก และเว้นระยะห่าง1-2 เมตร

ผู้ติดเชื้อ COVID-19 แบบไหนที่สามารถแยกตัวรออยู่บ้านได้

เป็นผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ไม่มีอาการใด ๆ หรือมีอาการเล็กน้อย ผู้ติดเชื้อ อายุไม่เกิน 40 ปี ผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีผู้อยู่ร่วมที่พักอาศัย ไม่เกิน 1 คน ไม่มีภาวะอ้วน ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 25กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัวไม่เกิน90 กก. ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)โรคไตเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคหลอดเลือดสมองเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ โรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ ผู้ติดเชื้อยินยอมกักตัวในที่พักของต้นเอง

แจ้งประชาสัมพันธ์ ด้วยประกาศยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโควิด-19 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ขอความร่วมมือผู้ป่วยที่ไม่มีอาการเร่งด่วนและผู้ป่วยที่มีนัดหมาย ขอให้ลดการมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น และใช้บริการปรึกษาแพทย์ทางไกล Tele-Medicine

แจ้งประชาสัมพันธ์ ด้วยประกาศยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโควิด-19 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ขอความร่วมมือผู้ป่วยที่ไม่มีอาการเร่งด่วนและผู้ป่วยที่มีนัดหมาย ขอให้ลดการมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น และใช้บริการปรึกษาแพทย์ทางไกล Tele-Medicine กรณีแพทย์สั่งจ่ายยา มีบริการจัดส่งยาถึงบ้านผ่านทางไปรษณีย์ทั่วประเทศ สำหรับผู้ป่วยเก่าโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 1. โรงพยาบาลจะโทรติดต่อประสานผู้ป่วยเพื่อให้ท่านได้รับบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม โดยใช้ระบบ Tele-Medicine หาหมอผ่านมือถือ หรือเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลเฉพาะในรายที่จำเป็น 2. ผู้ป่วยเก่าที่มีนัดหมายการตรวจที่โรงพยาบาล ที่ไม่มีอาการเร่งด่วน สามารถติดต่อแจ้งเลื่อนนัดได้ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุบนบัตรนัดหมายของท่าน สำหรับผู้ป่วยใหม่ 1. ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ส่งประวัติปรึกษาผ่านไลน์ อายุรกรรมโรคมะเร็ง แอดไลน์ได้ที่ >> https://lin.ee/g3flxLO 2. ผู้ป่วยหัวใจและหลอดเลือด นัดหมายและปรึกษาอาการผ่านพยาบาลประสานงานหัวใจตลอด 24 ชม. ที่สายด่วนโรคหัวใจ 06 4205 3970 ประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2564

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดยมี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559 ตามพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 โดยมี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาวิจัย ด้านสุขภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำทางด้านวิชาการและวิชาชีพ และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพในสาขาที่ขาดแคลน และการสาธารณสุขของประเทศไทย ทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และสามารถนำผลการวิจัยและนวัตกรรมที่คิดค้นไปประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและสังคม และเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นนำของภูมิภาคที่ให้บริการสุขภาพแก่สังคมด้วยความเสมอภาคและไม่เหลื่อมล้ำ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นสถาบันระดับโลกในด้านวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าวิจัย การศึกษา และบริการทางสุขภาพ ภายใต้หลักปรัชญา “เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต” โดยมีโครงสร้างเพื่อดำเนินงานตามพันธกิจ 3 ส่วน ประกอบด้วยสำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2564 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงห่วงใยสุขภาพอนามัยของราษฎร ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เชิญถุงยังชีพพระราชทาน เครื่องอุปโภค บริโภค จำนวน 1,000 ถุง มอบให้ราษฎรในพื้นที่ชุมชนแออัดต่างๆที่ได้รับผลกระทบ

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 : ด้วยพระกรุณาธิคุณของ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงห่วงใยสุขภาพอนามัยของราษฎร ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ปัจจุบันมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อาทิ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ผู้กักตัวอยู่บ้าน อีกทั้งประสบปัญหาในเรื่องการดำรงชีพ จึงโปรดให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยนางมาริษา สมบัติบูรณ์ ผู้ช่วยเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นผู้เชิญถุงยังชีพพระราชทาน เครื่องอุปโภค บริโภค จำนวน 1,000 ถุง มอบให้ราษฎรในพื้นที่ชุมชนแออัดต่างๆที่ได้รับผลกระทบ โดยมีอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นผู้แทนรับมอบ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในวันโอกาสวันคล้ายประสูติ วันที่ 4 กรกฎาคม 2564

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดเกล้าฯ ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เชิญถุงยังชีพพระราชทาน เครื่องอุปโภค บริโภค จำนวน 1,000 ถุง มอบแก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อัคคีภัยย่านซอยกิ่งแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2564 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดเกล้าฯ ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยพลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เชิญถุงยังชีพพระราชทาน เครื่องอุปโภค บริโภค จำนวน 1,000 ถุง มอบแก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อัคคีภัยย่านซอยกิ่งแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ณ โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัย โดยมีนายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ และส่วนงานราชการจังหวัดในพื้นที่ ประสานความร่วมมือช่วยสำรวจความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ นำมาซึ่งความปลาบปลื้มปีติแก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และต่างสำนึกในพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดสร้างสถาบันการแพทย์แห่งใหม่ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง และอาคารการเรียนการสอนของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้ศูนย์การแพทย์แห่งนี้ว่า “ภัทรมหาราชานุสรณ์” อันมีความหมายว่า ที่ระลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระดำริให้โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ขยายบริการรักษาพยาบาลจากเฉพาะโรคมะเร็งให้ครอบคลุมการรักษาทุกโรค พร้อมทั้งพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ สถาบันการศึกษาวิจัยและสถาบันการแพทย์ชั้นนำของภูมิภาค ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดสร้างสถาบันการแพทย์แห่งใหม่ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง และอาคารการเรียนการสอนของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ 90ปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในปี พ.ศ. 2560 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ โดยมุ่งหวังให้สถาบันการแพทย์แห่งนี้เป็นสถานพยาบาลของรัฐขนาดใหญ่และวิทยาลัยแพทย์ เพื่อพัฒนาค้นคว้าวิจัยสร้างองค์ความรู้ สร้างแพทย์และบุคลากรในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมทั้งช่วยเหลือประชาชนไทยให้ได้รับการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้ศูนย์การแพทย์แห่งนี้ว่า “ภัทรมหาราชานุสรณ์” อันมีความหมายว่า ที่ระลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง โดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ “ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์” เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561 มีกำหนดการสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2565 นี้ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2564 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยพระปณิธานอันแน่วแน่ ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่จะช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัว จึงมีพระดำริจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง” ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

ด้วยพระปณิธานอันแน่วแน่ ใน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่จะช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัว จึงมีพระดำริจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง” ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ และเมื่ออาคารโรงพยาบาลแล้วเสร็จ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “โรงพยาบาลจุฬาภรณ์” และเสด็จเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เพื่อเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางชำนาญการด้านโรคมะเร็ง ขนาด 100 เตียง ช่วยเหลือบำบัดดูแลรักษาและบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์เข็ญทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางสังคมของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ต่อมามีการขยายขอบข่ายการรักษาโรคทั่วไป ในพุทธศักราช 2560 ได้พระราชทานนามอาคารโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า “ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์” โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2564 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

จากพระวิสัยทัศน์ ใน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสร้างภาพในระดับโมเลกุลทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อยกระดับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในประเทศไทย ก่อกำเนิดศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ

จากพระวิสัยทัศน์ ใน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสร้างภาพในระดับโมเลกุลทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อยกระดับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในประเทศไทย ทรงก่อตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โดยทรงวางแนวทางการดำเนินงานและทรงติดตามการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง และเสด็จเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เพื่อให้ศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคระบบประสาท โรคหัวใจด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเกิดประโยชน์และความคุ้มค่าอย่างสูงสุด เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2564 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

” เจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ” นักวิทยาศาสตร์ต้นแบบ ผู้ทรงทุ่มเทชีวิต ในการศึกษาค้าคว้าวิจัย เพื่อนำความรู้ความสามารถมาพัฒนาประเทศชาติยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพเป็นที่ประจักษ์ในด้านวิทยาศาสตร์ จนได้รับการถวายพระสมัญญานาม “เจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ผู้ทรงมีผลงานการศึกษาวิจัยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ทรงทุ่มเทชีวิตในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อนำความรู้ ความสามารถ มาพัฒนาประเทศชาติยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร ด้วยทรงฝังพระทัยถึงความทุกข์ยากของผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสตามท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศในการเข้าถึงการสาธารณสุข ตลอดจนปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากการขาดแคลนแพทย์ และการเข้าถึงการรักษาด้วยเทคโนโลยีระดับสากล สานต่อแนวพระราชดำริ ในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาประเทศชาติและยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร ดังพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ความว่า “ขอให้นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในระดับรากหญ้า” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2564 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

1 26 27 28 41