การแพทย์และสาธารณสุข
ค้นหาจากช่วงเวลา

Long Covid อาการต่อเนื่องที่ต้องระวัง หลังหายจากโควิด

สำหรับผู้ป่วยโควิดที่รักษาหายแล้ว ในบางรายอาจมีอาการหลงเหลือที่เรียกว่า Long Covid ในช่วง 1-3 เดือนแรก ซึ่งอาจมีอาการที่เกิดขึ้นทั้งทางร่ายกาย จิตใจ และระบบประสาท โดยแต่ละรายอาจมีอาการที่แตกต่างกัน เช่น ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยล้า ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ชา อ่อนแรง หลงลืม วิตกกังวล หรือซึมเศร้าร่วมด้วย หากมีอาการดังกล่าว แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป ขอรับคำปรึกษาได้ที่ คลินิคอาการเรื้อรังจากโควิด (Long covid-19 Clinic) โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เปิดให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น. สอบถามโทร. 0 2765 5811-2

พบกับ โบว์-มิ้นต์-บัว สานพลังการแบ่งปันมิติใหม่ในดิจิทัลอาร์ตแฟชั่นโชว์การกุศล “สิริศิลปิน ศิลป์เพื่อชีวิต: SIRISINLAPIN Art for Life” สืบสานงานศิลป์สู่การสร้างสรรค์ความสุขผ่านผลิตภัณฑ์ที่ระลึกการกุศลในคอลเลคชันล่าสุด “สิริศิลปิน ศิลป์เพื่อชีวิต”

สัมผัสการชมแฟชั่นโชว์การกุศลในรูปแบบ Virtual Runway และสามารถร่วมบริจาคผลิตภัณฑ์ในคอลเลคชัน สมทบทุนมูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์ฯ ในโอกาสครบรอบ 12 ปี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมแบ่งปันสร้างการแพทย์ไทยก้าวไกลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยไปด้วยกันติดตามรับชมแฟชั่นโชว์การกุศลSIRISINLAPIN Art for Life พร้อมกัน📺 ทางช่อง 3 กด 33 จันทร์ที่ 25 ต.ค.64 เวลา 23.00 น.🖥 สตรีมมิ่งบนช่องออนไลน์ ศุกร์ที่ 29 ต.ค.64 ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 12 ปี รพ.จุฬาภรณ์เวลา 19.00 น. พร้อมกัน 4 ช่องทาง🔴Youtube CHULABHORN Channel🟣IGTV สิริศิลปิน (@sirisinlapin)🔵Facebook : มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์🔵Facebook : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์🐯ร่วมสนุกไปกับการสร้างสรรค์ แต่งภาพด้วยเทคโนโลยี AR Filter จากภาพวาดฝีพระหัตถ์ได้ทางอินสตาแกรม sirisinlapin🛍ร่วมบริจาคช้อปผลิตภัณฑ์ในคอลเลคชัน “สิริศิลปิน ศิลป์เพื่อชีวิต” ผ่านทางเว็บไซต์และอินสตาแกรมสิริศิลปิน […]

15 ตุลาคม วันล้างมือโลก (Global Handwashing Day)

การล้างมือเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญและทำอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอในวิถีการดำเนินชีวิตยุค new normal เพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และเชื้อโรคอื่นๆ การล้างมืออย่างถูกวิธีควรล้างมือ 6 ขั้นตอนด้วยน้ำและสบู่ นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือถูด้วยแอลกอฮอล์เจลจนกว่าจะแห้ง ช่วยลดการติดเชื้อ เช่น โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร โรคติดต่อจากการสัมผัสได้โดยตรง โดยเฉพาะในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 แม้จะได้รับวัคซีนแล้ว ก็ยังต้องล้างมือบ่อยครั้ง ทั้งก่อนและหลังสัมผัสสิ่งของในที่สาธารณะอย่างสม่ำเสมอ

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดพิธีน้อมรำลึกและสืบสานพระราชปณิธาน เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2564

วันที่ 13 ตุลาคม 2564 เมื่อเวลา 08.30 น. ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงโฉมศรี โฆษิตชัยวัฒน์ อธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นประธานในพิธีน้อมรำลึกและสืบสานพระราชปณิธาน เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เหล่าคณาจารย์และบุคลากร ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ถวายความเคารพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมนำผู้เข้าร่วมพิธีฯ ยืนสงบนิ่ง 89 วินาที เพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงโฉมศรี โฆษิตชัยวัฒน์ อธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณว่า ตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งการครองราชย์ตราบจนกระทั่งเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงดำรงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม และทรงยึดมั่นในพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” อีกทั้งทรงพระวิริยะอุตสาหะปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ อีกทั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ ล้วนเป็นการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้พสกนิกรชาวไทยสามารถดำเนินชีวิตด้วยความผาสุกตลอดมา แม้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร […]

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดพิธีทำบุญตักบาตร ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ 13 ตุลาคม 2564

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม 2564 ที่บริเวณรอบองค์พระพุทธรูปหลวงพ่อโสธร อาคารสำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ตลอดจนพุทธศาสนิกชน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร อาหารแห้ง แด่พระสงฆ์ จำนวน 10 รูป จากวัดหลักสี่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 13 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นองค์กรที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงจัดตั้งขึ้น เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามพระราชปณิธานที่ทรงมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ได้มาตรฐาน โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และการวิจัย ที่จะสร้างบัณฑิต และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ที่มีจิตในการทำประโยชน์ให้ผู้อื่นก่อนคิดถึงประโยชน์ของตัวเอง พร้อมบริการสังคมด้วยความรู้ความชำนาญ คุณธรรมจริยธรรม จิตอาสา ความมุ่งมั่น และด้วยความเป็นเลิศในวิชาชีพเพื่อทุกชีวิตในสังคม อีกทั้งเป็นสถาบันที่ให้บริการทางการแพทย์ด้วยมาตรฐานสากลแก่ประชาชนอย่างไม่หวังผลกำไร โดยเฉพาะผู้ที่ยากไร้และด้อยโอกาส เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งประเทศ พร้อมกันนี้ ได้พร้อมใจกันยืนสงบนิ่งร่วมกันเป็นเวลา 89 […]

9 ตุลาคม 2564 วันการดูแลแบบประคับประคองสากลWorld Hospice and Palliative Care Day

องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวัน World Hospice and Palliative Care Day ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง สนับสนุนการพัฒนาบริการด้าน Hospice และเพิ่มการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้ในช่วงท้ายของชีวิต ในปีนี้มีการรณรงค์ภายใต้แนวคิด ‘Leave no one behind – equity in access to palliative care’ ซึ่งชวนให้ตระหนักว่า ไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทุกคนมีความเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงระบบการดูแลแบบประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Plan) หรือทำหนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต (Living will) สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่หน่วยพยาบาลคลินิกการแพทย์ผสมผสานผู้ป่วยมะเร็งและญาติ ชั้น 14 ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์โทร. 0 2576 6168 , 0 2576 6174

ขอเชิญเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และประชาชน ติดตามรับชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญา”สิริศิลปิน”

ขุด “นครป่าหลากลาย หลายชีวิต”ตอนที่ ๒ “ไอน์สไตน์ เสือนักคิดวิทยาศาสตร์”ออกอากาศในวันศุกร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๐๐ น. ทางช่อง Youtube CHULABHORN Channel และ IGTV SIRISINLAPIN แรงบันดาลใจจากภาพวาดฝีพระหัตถ์ชื่อภาพ: ไอน์สไตน์ ๐๕/๐๘/๒๕๖๐ Einstein 05/08/2017พระตำหนักทิพย์พิมาน Tippiman Palaceความคิดเมื่อตอนได้รับ รางวัล “The Gold Einstein Model”The very thought of myself getting “The Gold Einstein Model” ถ่ายทอดเรื่องราวศาสตร์พระราชาจากพระบรมราโชวาทใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ความว่า “…การพยายามศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีอันก้าวหน้าทุกสาขาจากทั่วโลก แล้วเลือกสรรส่วนที่สำคัญเป็นประโยชน์นำมาปรับปรุงใช้ให้พอดีพอเหมาะกับสภาพและฐานะของประเทศเรา เพื่อช่วยให้ประเทศของเราสามารถนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้พัฒนางานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่สิ้นเปลือง…” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน […]

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่งมอบชุดทำห้องความดันลบแบบติดตั้งถาวรและแบบเคลื่อนที่ให้กับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ภายใต้ “กองทุน ส.อ.ท. ช่วยไทยสู้ภัยโควิด-19”

5 ตุลาคม 2564 : ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วย พลอากาศตรีนายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และนายแพทย์สมนึก อร่ามเธียรธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้การต้อนรับ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนางพิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมฯและประธานคณะกรรมการกองทุน ส.อ.ท. ช่วยไทย สู้ภัยโควิด-19 และคณะผู้บริหารของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในโอกาสที่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ภายใต้ “กองทุน ส.อ.ท. ช่วยไทยสู้ภัยโควิด-19” มอบชุดจัดทำห้องความดันลบแบบติดตั้งถาวร จำนวน 8 ชุด และห้องความดันลบแบบเคลื่อนย้ายได้ จำนวน 3 ห้อง รวมมูลค่าทั้งสิ้น 630,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์และลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ณ ห้องประชุมใหญ่ MC232 ชั้น 3 อาคารบริหาร 2 สำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ […]

📢ขอเชิญประชาชนเข้าร่วมโครงการวิจัยประเมินประสิทธิภาพชุดตรวจแอนติเจน COVID-19 ด้วยตนเอง (ATK) เปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน RT-PCR รับสมัครอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 600 ราย

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ • ผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจส่วนต้นที่สงสัยการติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 300 ราย • ผู้ที่มีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูงตามเกณฑ์กรมควบคุมโรค จำนวน 300 ราย ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านทางเว็บไซต์ https://ari.cra.ac.th กรอกข้อมูลผ่านเมนู “ลงทะเบียนตรวจ COVID-19” (รับจำนวนจำกัด 80 รายต่อวัน) เข้ารับการตรวจที่ ARI Clinic ด้านหน้าอาคารศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ทั้งนี้ หากผู้เข้าร่วมโครงการมีผลตรวจพบการติดเชื้อโควิด-19 ท่านจะได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาพื้นฐานพร้อมทั้งมีโอกาสได้รับคัดเลือกเข้าโครงการวิจัยยาและการรักษาต่างๆ ของทางโรงพยาบาล เช่น การรับยาแอนติบอดี ค็อกเทล (Antibody Cocktail) กลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ เป็นต้น โครงการวิจัยนี้ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ รหัสการอนุมัติโครงการ EC No. 125/2564 วันที่ได้รับการอนุมัติ 17 กันยายน 2564 ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2564

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมเคารพธงชาติไทย เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ (Thai National Flag Day)

๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๐๐ น. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์องค์การ เรืองรัตนอัมพร รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยบุคลากรราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ๒๘ กันยายน ประจำปี ๒๕๖๔ ณ บริเวณเสาธงหน้าอาคารบริหาร สำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร วันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๖๐ โดยมีสาระสำคัญคือ การประกาศให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้มีการประกาศไว้ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยที่ประเทศไทยนั้นถือเป็นประเทศที่ ๕๔ ของโลกที่มีวันธงชาติ และการกำหนดวันธงชาติของทุกประเทศ ล้วนอิงกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึงความเป็นมาในการสร้างชาติของแต่ละประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๖๐ สำนักนายกรัฐมนตรี […]

ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์การขอรับยา “ฟาวิพิราเวียร์” สำหรับสถานพยาบาลและองค์กร/นิติบุคคลเพื่อนำไปรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19

สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับยา“ฟาวิพิราเวียร์” ทั้งแบบยาเม็ดและแบบยาน้ำเชื่อมสำหรับเด็กเล็กและผู้ป่วยกลืนลำบากได้ทางเว็บไซต์ https://favipiravir.cra.ac.th เลือกเมนู “ลงทะเบียนขอรับยาฟาวิพิราเวียร์ เตรียมข้อมูลอะไรบ้าง ? – หนังสือขอรับยา (สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือได้ในเว็บไซต์ลงทะเบียน)เอกสารเพิ่มเติม กรณีรับยาเองที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ – สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสานงาน – สำเนาบัตรประชาชนผู้บริหารสูงสุด – หนังสือมอบอำนาจจากผู้บริหารสูงสุด สำหรับสถานพยาบาลและองค์กร/นิติบุคคล ที่ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สามารถตรวจสอบสถานะการขอรับยาได้ที่ https://favipiravir.cra.ac.th เลือกเมนู “ตรวจสอบสถานะการขอรับยา” ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน 2564

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ สมาคมวิชาชีพและสถาบันทางการแพทย์ หารือแนวทางรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบันและอนาคต

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดงานแถลงข่าวในหัวข้อ “การรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันและอนาคต” โดยได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และ ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย มาร่วมอภิปรายเพื่อแสดงวิสัยทัศน์และความร่วมมือระหว่างคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมวิชาชีพและสถาบันทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ต่อการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยลดภาระงานของแพทย์ด่านหน้า ที่กำลังทำงานอย่างหนัก ลดจำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรงซึ่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และลดตัวเลขผู้เสียชีวิตในประเทศลงได้  ศ. นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้สัมภาษณ์ถึงพันธกิจที่จะยับยั้งความรุนแรงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยพระปณิธานใน ศ.ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน […]

1 24 25 26 41