การศึกษา วิจัย และนวัตกรรม
ค้นหาจากช่วงเวลา

พิธีมอบใบประกาศนียบัตรแสดงความยินดี แก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่คว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติ Internationally Outstanding Inventors Awards Ceremony ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ ชั้น 3 สโมสรทหารบก วิภาวดี

26 มิถุนายน 2566 : ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เข้าร่วมพิธีรับมอบใบประกาศนียบัตรแสดงความยินดี แก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่คว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติ Internationally Outstanding Inventors Awards Ceremony ซึ่งจัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ ชั้น 3 สโมสรทหารบก วิภาวดี ภายในงานมีการจัดนิทรรศการผลงานของนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ และมีการปาฐกถาพิเศษ “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทยก้าวไกลระดับโลก” พร้อมทั้งมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย โดยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงานผลสำเร็จการส่งเสริมและพัฒนานักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยในเวทีระดับนานาชาติ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยที่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยได้สร้างชื่อเสียงนำนวัตกรรมของประเทศไทยสู่เวทีนานาชาติ การนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล รักษาการรองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เข้าร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดีกับทีมนักวิจัยที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 60 ปีเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ได้ส่งนักวิจัยและผลงานสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมประกวดในเวทีนานาชาติ  The 48th International Exhibition […]

วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี จัดพิธีประกาศสำเร็จการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) รุ่นที่ ๒

วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี จัดพิธีประกาศสำเร็จการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) รุ่นที่ ๒ วันจันทร์ ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ ห้องพระพิษณุ โรงแรมอัศวินแกรนด์เวนชั่น วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) รุ่นที่ ๒ จัดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามอัตภาพ การจัดการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น รายวิชาภาคทฤษฎี ๒๖ หน่วยกิต ภาคปฏิบัติ ๑๒ หน่วยกิต นอกจากนี้หลักสูตร ฯ ยังได้จัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรม และเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต การจัดการศึกษาครั้งนี้ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ โดยมีผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน ๔๐ คน

วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี จัดกิจกรรม การจัดการความรู้ (Knowledge management)

16 มิถุนายน 2566 ภาควิชาการพยาบาลชุมชน ได้จัดประชุมการจัดการความรู้ (Knowledge management) ให้กับอาจารย์และบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ในหัวข้อ : Principle of lifelong learning in higher education – How to design and support in teaching and learning process? ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากร จาก Centre for Lifelong Learning, Universiti Brunei Darussalam ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการและแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning)

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด , อาจารย์ ดร.จีรศักดิ์ คำฟองเครือ และนายปฏิภาณ คำมณี สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ที่ได้รับรางวัล SILVER MEDAL จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด , อาจารย์ ดร.จีรศักดิ์ คำฟองเครือ และนายปฏิภาณ คำมณี สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ในผลงาน “คิวเอ เพาส์: ระบบประกันคุณภาพเชิงทำนายสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษาผู้ป่วยมะเร็ง” ( QA Pulse: Predictive Quality Assurance System of linear accelerator in Radiation Therapy using AI ) โดยได้รับรางวัล SILVER MEDAL จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ ผลงาน “คิวเอ เพาส์: ระบบประกันคุณภาพเชิงทำนายสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษาผู้ป่วยมะเร็ง” เป็นแนวคิดใหม่ของระบบประกันคุณภาพเครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษาที่เข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานเชิงรุกสำหรับบำรุงรักษา โดยแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่องเร่งอนุภาคก่อนที่เกิดความผิดพลาดของเครื่องมือที่เกิดกับค่าความคาดเคลื่อนทางคลินิกที่กำหนดไว้ ระบบนี้จะอาศัยข้อมูลประกันคุณภาพในอดีตกับการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์หรือเทคนิคปัญญาประดิษฐ์ เพื่อประเมินความล้มเหลวของเครื่องเร่งอนุภาคในอนาคต ประโยชน์ที่ได้รับ […]

ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันท์ธิดา ภัทราประยูร , อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีรภัทร อึ้งตระกูล สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ที่ได้รับรางวัล GOLD MEDAL (with the congratulations of the jury) จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันท์ธิดา ภัทราประยูร , อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีรภัทร อึ้งตระกูล สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ในผลงาน “เทคโนโลยีต้นทุนต่ำสำหรับการตรวจคัดกรองภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดด้วยปัญญาประดิษฐ์” ( Low-cost screening technology for neonatal jaundice using AI ) โดยได้รับรางวัล GOLD MEDAL (with the congratulations of the jury) จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ ผลงาน “เทคโนโลยีต้นทุนต่ำสำหรับการตรวจคัดกรองภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดด้วยปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีการตรวจภาวะตัวเหลืองสำหรับทารกแรกเกิดชนิดไม่รุกล้ำ โดยอาศัยอุปกรณ์ที่เข้าถึงได้ง่ายในทุกกลุ่มประชากร เพื่อให้ทารกทุกคนได้รับการเข้าถึงการตรวจคัดกรองและรักษาภาวะตัวเหลืองได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะสม โดยผ่านทางอุปกรณ์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สามารถใช้งานได้ง่าย ต้นทุนต่ำ เชื่อถือได้และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยังโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิผ่านเทคโนโลยีคลาวน์ จุดเด่นหรือความแปลกใหม่ […]

คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดโครงการ “RIKM DAY วันงานวิจัย การจัดการความรู้ และการพัฒนางานประจำ”

14 มิถุนายน 2566: ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงโฉมศรี โฆษิตชัยวัฒน์ อธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นประธานเปิดงาน โครงการ “RIKM DAY วันงานวิจัย การจัดการความรู้ และการพัฒนางานประจำ” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน เผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมและงานวิจัย สำหรับ อาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้เกียรติมอบรางวัลและแสดงความยินดีกับผู้ชนะเลิศโครงการฯ โดยมี อาจารย์ ดร. นายแพทย์วิทยา สังขรัตน์ รองคณบดีด้านวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและวิเทศสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมด้วยคณาจารย์ นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ ณ หอประชุม CRA Hall ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โครงการ “RIKM DAY วันงานวิจัย การจัดการความรู้ และการพัฒนางานประจำ” มีแนวทางจากคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดและพัฒนางานวิจัย ความร่วมมือ การพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนและก้าวหน้า เนื่องจากการวิจัย […]

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน และนายแพทย์ศรัณย์ เลิศสถิตธนกร สังกัดโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ที่ได้รับรางวัล GOLD MEDAL and Special prize จาก Hong Kong Delegation จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน และนายแพทย์ศรัณย์ เลิศสถิตธนกร สังกัดโรงพยาบาลจุฬาภรณ์  ในผลงาน “การคัดกรองมะเร็งเต้านมทางไกลโดยใช้ระบบบริหารจัดการภาพอัลตราซาวด์สามมิติอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีคลาวน์และปัญญาประดิษฐ์” ( Remote breast cancer screening using cloud-based automated 3D breast ultrasound imaging management system with AI ) โดยได้รับรางวัล GOLD MEDAL and Special prize จาก Hong Kong Delegation จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ ผลงาน “การคัดกรองมะเร็งเต้านมทางไกลโดยใช้ระบบบริหารจัดการภาพอัลตราซาวด์สามมิติอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีคลาวน์และปัญญาประดิษฐ์” เป็นระบบการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีภาพอัลตราซาวด์สามมิติอัตโนมัติ (3D ABUS) บนคลาวด์ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม […]

ขอแสดงความยินดีกับนายพชร ทองลิ้ม สังกัดศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ที่ได้รับรางวัล GOLD MEDAL and Special prize: Outstanding Innovation Award จากประเทศซาอุดิอาระเบีย จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับนายพชร ทองลิ้ม สังกัดศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ในผลงาน “ออปติก ระบบคัดกรองมะเร็งจากการวิเคราะห์ลายนิ้วมือด้วยเทคนิคดิจิตอลโฮโลกราฟีและปัญญาประดิษฐ์” ( Optik – Cancer screening system based on fingerprint analysis using digital holographic techniques and artificial intelligence. ) โดยได้รับรางวัล GOLD MEDAL and Special prize: Outstanding Innovation Award จากประเทศซาอุดิอาระเบีย จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ ผลงาน “ออปติก” เป็นเครื่องวิเคราะห์ลายนิ้วมือด้วยเทคนิคดิจิตอลโฮโลกราฟี เพื่อช่วยในการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงจากโรคมะเร็งด้วยการถ่ายภาพลายนิ้วมือจากเทคนิคดิจิตอลโฮโลกราฟีและนำภาพที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิเคราะห์ลายนิ้วมือ […]

โรงเรียนนักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการทุนเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมายุครบ 60 พรรษา เพื่อพัฒนานักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์สำหรับโรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกล”

11 มิถุนายน 2566 : โรงเรียนนักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการทุนเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมายุครบ 60 พรรษา เพื่อพัฒนานักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์สำหรับโรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกล” เป็นโครงการต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินการจัดการฝึกอบรม ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เป็นต้นมา ล่าสุดปีงบประมาณ 2566 ได้เปิดรับกลุ่มแพทย์ใช้ทุน แพทย์ทั่วไป แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป นักรังสีการแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อร่วมอบรมฟรี ถือเป็นการติดอาวุธเสริมให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ไปให้บริการทั่วประเทศ ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียม

วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พิธีปัจฉิมนิเทศ และบายศรีสู่ขวัญ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) รุ่นที่ ๒

พิธีปัจฉิมนิเทศ และบายศรีสู่ขวัญ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) รุ่นที่ ๒ วันอาทิตย์ ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ ห้องพระพิษณุ โรงแรมอัศวินแกรนด์เวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) ครบตามเกณฑ์หลักสูตร ฯ กำหนด จึงได้จัดเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา และงานพิธีบายศรีสู่ขวัญเป็นขวัญกำลังใจ พร้อมสำหรับการเริ่มประกอบอาชีพในอนาคต

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดพิธีประกาศสำเร็จการศึกษามอบขีดหมวกพยาบาลและเข็มราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สำหรับบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 3 พร้อมปฏิบัติงานตามปรัชญา “เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต”

วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดพิธีประกาศสำเร็จการศึกษา มอบขีดหมวกพยาบาลและเข็มราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2565 และมอบเกียรติบัตรรางวัล WISH AWARD ให้กับนักศึกษาที่มีความโดนเด่นในอัตลักษณ์ของบัณฑิตวิทยาลัยศาสตร์อัครราชกุมารี คือ รอบรู้ พัฒนา จิตอาสา นำพาความสุข พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรแก่นักศึกษาที่สร้างชื่อเสียงด้านต่างๆ ให้กับสถาบัน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง คณบดีวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นประธานในพิธีและกล่าวแสดงความยินดี ให้โอวาทแก่นักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 62 คน พร้อมด้วยคณาจารย์ ผู้ปกครองและแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีอันทรงเกียรติ ณ หอประชุม CRA Hall ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พิธีประกาศสำเร็จการศึกษา มอบขีดหมวกพยาบาลและเข็มราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ถือเป็นพิธีการที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ เป็นการสืบสานวัฒนธรรมที่งดงามของวิชาชีพพยาบาล เพราะขีดหมวกถือเป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต แสดงถึงความพร้อมในการปฏิบัติการพยาบาล มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อวิชาชีพวิชาชีพพยาบาลและมีความรับผิดชอบต่อชีวิตของประชาชน ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลทุกคนจึงต้องยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณและมาตรฐานของวิชาชีพ เพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนและสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น เข็มราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงความภาคภูมิใจในสถาบันที่สำเร็จการศึกษา […]

นักวิจัยจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คว้ารางวัลในการประกวดผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ณ นครเจนีวา

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีผลงานได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 60 ปีเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ได้ส่งนักวิจัยและผลงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อเข้าร่วมประกวดในเวทีนานาชาติ  The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ระหว่างวันที่ 26 – 30 เมษายน 2566 ณ ศูนย์ประชุม Palexpo นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ เหรียญทอง เหรียญเงิน และ Special prize สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ตลอดจนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อการนำไปใช้งานจริงทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีภารกิจส่งเสริมการทำวิจัยและการคิดค้นนวัตกรรมตลอดจนสิ่งประดิษฐ์เพื่อสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลและทิศทางการวิจัยของโลก การนำผลงานไปประกวดในเวทีระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นเวทีอันทรงเกียรติและได้รับความเชื่อถือจากนักวิจัยและนักประดิษฐ์ทั่วโลก จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อันจะเป็นแรงผลักดันให้นักวิจัยของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพสูงต่อไป นอกจากนี้ เวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์ในระดับนานาชาติยังจะเป็นเวทีในการแสวงหาความร่วมมือสำหรับการวิจัยเชิงนวัตกรรมต่อไปด้วย ในครั้งนี้ ผลงานจากนักวิจัยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ได้รับรางวัลในการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ในเวทีระดับนานาชาติ The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ได้แก่ 1. รางวัล […]

1 9 10 11 35