ศูนย์ข้อมูลวัคซีน
ค้นหาจากช่วงเวลา

การฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นมีความจำเป็นมาก เพราะเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา

“…การฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นมีความจำเป็นมาก เพราะเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา และเป็นธรรมชาติที่เชื้อก็ต้องการอยู่รอด จึงปรับตัวหนีภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราไปเรื่อยๆ วิธีที่จะจัดการไม่ให้เชื้อหนีภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราไปได้มี 2 วิธี คือ การทำให้ภูมิคุ้มกันของเราสูงขึ้น หรือ หาวัคซีนชนิดใหม่ แต่สำหรับโควิด-19 ที่มีการระบาดต่อเนื่องแบบนี้ การหาวัคซีนใหม่นั้นยากเพราะต้องใช้เวลา การกระตุ้นไม่ให้ภูมิคุ้มกันลดลงจึงเป็นทางออกในตอนนี้ เมื่อร่างกายได้รับวัคซีน ภูมิคุ้มกันจะสูงอยู่ระยะหนึ่งก่อนที่จะค่อยๆลดลง เราจึงต้องกระตุ้นอยู่เรื่อยๆ เพื่อรักษาระดับภูมิคุ้มกันให้สูงไว้จนกว่าเราจะมีวัคซีนโควิด-19 ชนิดใหม่ หรือโควิด-19 ไม่เป็นโรคระบาดแล้ว และกลายเป็นเหมือนไข้หวัดตามฤดูกาล” บทสัมภาษณ์ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จากผู้จัดการออนไลน์ เพราะเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา วัคซีนเข็มกระตุ้นจึงจำเป็น เพื่อรักษาระดับภูมิคุ้มกันไม่ให้ลดลง ป้องกันการติดเชื้อ และลดอาการรุนแรง ที่มา: https://mgronline.com/qol/detail/9650000001101 ร่วมด้วยช่วยกันควบคุมการแพร่ระบาดของ “โอมิครอน” รับผิดชอบตัวเอง ครอบครัว และผู้อื่น เราจะรอดไปด้วยกัน ศูนย์ข้อมูลวัคซีนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์Facebook: @CRAVaccineinfocenter 0 2078 9350

เจาะลึกวัคซีน mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ โดย ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

เจาะลึกวัคซีน mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ โดย ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แนะนำฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อรักษาระดับภูมิคุ้มกัน จนกว่าจะมีวัคซีนโควิด-19ตัวใหม่ หรือจนกว่าโควิด-19 จะไม่เป็นโรคระบาด และกลายเป็นเหมือนไข้หวัดตามฤดูกาล พร้อมคำแนะนำการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ติดตามได้ที่ >>https://mgronline.com/qol/detail/9650000001101?fbclid=IwAR0qk4wHdBlKhfTDlbVW5t8xsRa7cVJgq0JsUCSLeZyVPJ8Ws7sjIQdw2T4

🩹ทางเลือกเข็มต่อไป…โมเดอร์นา จองด้วยกัน ฉีดพร้อมกัน กระตุ้นภูมิคุ้มกันปี 2565

🩹ทางเลือกเข็มต่อไป…โมเดอร์นา จองด้วยกัน ฉีดพร้อมกัน กระตุ้นภูมิคุ้มกันปี 2565 📣ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดจองขอรับจัดสรรวัคซีนทางเลือกโมเดอร์นากระตุ้นภูมิคุ้มกันปีหน้าในรูปแบบกลุ่มองค์กร/นิติบุคคล ขั้นต่ำ 10 คนขึ้นไป ทางเว็บไซต์ 🌐https://vaccine.cra.ac.th 🔴 วัคซีนทางเลือกโมเดอร์นา (mRNA1273) 100 ไมโครกรัม☑️โดสละ 1,110 บาท*☑️โอนเงินจอง 600 บาทต่อโดส ชำระส่วนที่เหลือเมื่อได้รับการจัดสรร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2565 *อัตราค่าวัคซีนดังกล่าวสำหรับผู้ที่จองวัคซีนจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 โดยรวมประกันค่ารักษาพยาบาลอาการข้างเคียงจากวัคซีนและค่าขนส่งแล้ว ไม่รวมค่าบริการฉีดที่ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานพยาบาลกำหนด 🔺 แนะนำจองเพื่อใช้เป็นเข็มกระตุ้นภูมิ (เข็ม 4) ปี 2565🔺วัคซีนโมเดอร์นาที่จะได้รับจัดสรรจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นวัคซีนรุ่นล่าสุดที่ได้รับรอง ณ ช่วงเวลานั้นว่ามีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด🔺วัคซีนโมเดอร์นาจะทยอยจัดสรรในเดือนมีนาคมตามลำดับองค์กรที่โอนเงินจองเข้ามาก่อน และจัดสรรต่อทุก 3 เดือน หรือเมื่อได้รับวัคซีนจากต่างประเทศจนได้รับวัคซีนครบตามจำนวน🔺ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินหรือปรับลดจำนวนการจองวัคซีนในทุกกรณี ดังนั้น โปรดตรวจสอบรายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนกดยืนยันจองวัคซีน สำหรับบุคคลทั่วไปรอประกาศโควต้าแต่ละเดือนเมื่อราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้รับวัคซีนจากทางบริษัท ประกาศ ณ วันที่ 2 […]

ปีใหม่นี้ กลับมากระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตแบบ Now Normal กับศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

📍ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ชวนคุณ เพิ่มภูมิคุ้มกัน เพิ่มพูนน้ำใจ Buy 1 Give 1 จองฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม 1 โดส ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพิ่มให้อีก 1 โดส ตลอดเดือนมกราคม 2565เงื่อนไข📲💉สแกนชำระเงินวัคซีนทางเลือกซิโนฟาร์ม 1 โดส 550 บาท ที่ตู้ชำระเงิน ณ ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 🎁 รับบัตรของขวัญเพิ่มภูมิด้วยวัคซีนซิโนฟาร์มอีก 1 โดส มูลค่า 550 บาทการใช้บัตรของขวัญมี 3 วิธี🔵ใช้บัตรของขวัญรับสิทธิ์ฉีดเพิ่มอีก 1 ท่าน ได้ในวันเดียวกัน🟠 ใช้บัตรของขวัญเพื่อรับสิทธิ์ฉีดเข็มต่อไปเมื่อครบกำหนดกระตุ้นภูมิ⚪️ บริจาคคูปองเพื่อส่งต่อวัคซีนให้ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบางจองนัดหมายฉีดซิโนฟาร์มได้ทาง https://vaccinecovid19.cra.ac.th🎉ฉลองปีใหม่ปีนี้ ห่างไกลไม่ห่างกัน อยู่ฉลองกับคนในครอบครัวที่บ้าน ปลอดภัยลดโอกาสการแพร่ระบาดโควิด-19ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2564

ชนิดของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

การหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยการป้องกันตนเองตามมาตรการ New Normal รวมถึงการฉีดวัคซีนก็เป็นวิธีการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีอีกทางหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนหลายชนิดให้ผู้เข้ารับวัคซีนได้เลือกฉีดป้องกันได้ตามความเหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละกลุ่มคน มารู้จักกับวัคซีนป้องกันโควิด-19แต่ละชนิดและวิธีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิได้ใน “ความรู้สู้ภัยโควิด – EP3 ชนิดของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19”

🏥ประชาสัมพันธ์ ศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ CAT Convention Hall ถนนแจ้งวัฒนะ งดให้บริการฉีดวัคซีน ตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. 64 – 4 ม.ค. 65

ศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ CAT Convention Hall ถนนแจ้งวัฒนะ‼️งดให้บริการฉีดวัคซีน ตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. 64 – 4 ม.ค. 65📌สำหรับท่านที่มีความประสงค์รับวัคซีนในช่วง วัน-เวลา ดังกล่าว สามารถติดต่อเพื่อเข้ารับบริการได้ที่ ชั้น4 อาคารข้าราชบริพาร ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ในวันและเวลาราชการ 08.00-16.00 น. ยกเว้นวันที่ 31 ธ.ค. 64 – 3 ม.ค. 65📍โดยจะเปิดให้บริการตามปกติ ในวันที่ 5 มกราคม 2565 เป็นต้นไปขออภัยในความไม่สะดวกประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2564

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จับมือ ไอบีเอ็ม และ ธนาคารกรุงเทพ เชื่อมต่อระบบแสดงประวัติการรับวัคซีน COVID-19 ของคนไทยกว่า 7 ล้านราย เข้ากับมาตรฐานแพลตฟอร์ม Digital Health Pass ระดับโลก

กรุงเทพฯ – 27 ธันวาคม 2564 : ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย และนายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือเชื่อมต่อระบบแสดงประวัติการรับวัคซีน COVID-19 จากศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มทั่วประเทศรวมกว่า 7 ล้านราย เข้ากับมาตรฐานแพลตฟอร์ม Digital Health Pass ระดับโลก ช่วยให้ข้อมูลประวัติการรับวัคซีนในรูปแบบเอกสารดิจิทัลของประชาชนกลุ่มดังกล่าวเชื่อมโยงกับระบบการเดินทาง การทำงาน และบริการในหลายประเทศ รวมถึงหลายร้อยระบบและบริการจากหน่วยงานชั้นนำของโลก โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านทางโมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารกรุงเทพ ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า “ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หนึ่งใน 5 หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าวัคซีน COVID-19 ตามประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยตลอดปี 2564 ได้ร่วมสนับสนุนภารกิจสำคัญในการสนับสนุนการเร่งกระจายวัคซีน COVID-19 ให้เป็นไปอย่างทั่วถึง เพื่อช่วยให้ประชาชนได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันได้เร็วที่สุด ควบคู่ไปกับการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพแก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นหนึ่งหน่วยงานที่เป็นกำลังสำคัญในการให้บริการฉีดวัคซีนหลักของประเทศ รวมทั้งได้กระจายวัคซีนตัวเลือกซิโนฟาร์มสู่ประชาชนภาคองค์กรธุรกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานพยาบาลเพื่อกระจายฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมถึงกลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาสทั่วทุกภูมิภาค โดยมีฐานข้อมูลประชาชนผู้รับวัคซีนในกลุ่มดังกล่าวรวมแล้วกว่า 7 ล้านรายที่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลตามมาตรฐานสากล โดยฐานข้อมูลประวัติการรับวัคซีน รวมถึงข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับ COVID-19 คือ สิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชนในยุคปัจจุบัน การพัฒนาระบบบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สนองต่อการใช้ชีวิตของประชาชนภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ ซึ่งกลายเป็นวิถีชีวิตในปัจจุบัน หรือ Now Normal ที่ผู้คนต่างต้องปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์การให้บริการทางการแพทย์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในรูปแบบเอกสารดิจิทัลให้กับประชาชนที่เข้ารับวัคซีนจากศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มทั้งประเทศ โดย ณ ปัจจุบันผู้รับวัคซีนในกลุ่มดังกล่าวสามารถออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ได้ผ่านทางเมนู “บริการโควิด-19” บนแพลตฟอร์ม LINE Official โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ […]

📣ตามที่โครงการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (เข็ม 3) ให้กับเด็กและเยาวชนในโครงการ VACC 2 School ได้รับอนุมัติหลักการจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนให้ดำเนินการต่อเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แก่กลุ่มที่ได้วัคซีนไปแล้ว

🗓โปรดติดตามการนัดหมายวัน-เวลาในการเข้ารับวัคซีนของบุตรธิดาท่านผ่านทาง SMS ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หรือติดตามประกาศกำหนดนัดหมายของแต่ละสถานศึกษาหรือกลุ่มสมาคมผู้ปกครองที่บุตรธิดาท่านสังกัดผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ ศูนย์ข้อมูลราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 📲 หากท่านยังไม่ได้รับ sms แจ้งวัน-เวลาเข้ารับวัคซีนหลังวันที่ 10 มกราคม 2565 สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 02 576 6833-35 หรือ 08 4040 5166 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-18.00 น. เพื่อประสานการนัดหมายเข้ารับวัคซีนเป็นกลุ่ม/สถานศึกษา ทั้งนี้ ขอให้ท่านตรวจสอบยืนยันว่าได้ทำการตอบแบบสอบถามรายงานผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มเข็ม 1 และเข็ม 2 ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง 6 ครั้งแล้ว ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2564

Ho Ho Ho Have a Safe Merry Christmas 🎄เข็มต่อไป….โมเดอร์นา จองด้วยกัน ฉีดพร้อมกัน

📣โค้งสุดท้ายก่อนปรับราคาจอง….เหลือเวลาอีก 7 วันเท่านั้น จองวัคซีนโมเดอร์นาแบบกลุ่มองค์กรนิติบุคคล ภายใน 31 ธันวาคม 2564🔴 โมเดอร์นา 100 ไมโครกรัม (mRNA-1273) โดสละ 1,110 บาท* โอนจ่ายมัดจำ 500 บาทต่อโดส จนถึง 31 ธ.ค. 2564 จ่ายเมื่อได้รับจัดสรร 610 บาทต่อโดส👥 จองฉีดพร้อมกันเป็นกรุ๊ป 10 คนต่อรอบ สำหรับกลุ่มที่กังวลในสายพันธุ์โอไมครอน (B.1.1.529) ผู้สูงอายุหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ🔴 โมเดอร์นา 50 ไมโครกรัม (mRNA-1273) โดสละ 555 บาท* โอนจ่ายมัดจำ 250 บาทต่อโดส จนถึง 31 ธ.ค. 2564 จ่ายเมื่อได้รับจัดสรร 305 บาทต่อโดส👥 จองฉีดพร้อมกันเป็นกรุ๊ป 20 คนต่อรอบ สำหรับกลุ่มที่ฉีดวัคซีนชนิด mRNA ครบ 2 […]

แนวทางการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Booster Dose) สำหรับเด็กและเยาวชนที่เข้ารับวัคซีนซิโนฟาร์ม ในโครงการ “VACC 2 School” ครบ 2 เข็ม ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2564

💉ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีแผนกำหนดการนัดหมายเข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (เข็ม 3) ในช่วงเดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป โดยจะนัดหมายวัน-เวลา เป็นกลุ่มสถานศึกษา/กลุ่มสมาคมผู้ปกครองที่นักเรียนสังกัด📲 ผู้เข้ารับวัคซีนจะได้รับ SMS แจ้งวันนัดหมายพร้อมช่วงเวลาผ่านทางเบอร์โทรศัพท์ที่เคยได้ลงทะเบียนไว้กับทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หรือรอประกาศรอบตารางนัดหมายของแต่ละสถานศึกษาหรือกลุ่มสมาคมผู้ปกครองที่บุตรธิดาท่านสังกัด🏥 สถานที่ : เข้ารับบริการฉีดวัคซีน ณ ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ CAT Convention Hall ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7⚠สำหรับโครงการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มเข็มกระตุ้น อยู่ระหว่างการรอพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน เด็กและเยาวชนที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องรายงานผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มเข็ม 1 และเข็ม 2 ให้ครบถ้วนทั้ง 6 ครั้งแล้ว*หมายเหตุ: โครงการ “VACC 2 School” นำร่องฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในการเปิดภาคเรียน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การศึกษาอัตราอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ภายหลังจากการฉีดวัคซีน BBIBP-CorV (Sinopharm) ในอาสาสมัครอายุ 10 – ต่ำกว่า 18 ปี ในประเทศไทย” ซึ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ตามรหัสการอนุมัติโครงการ […]

โมเดอร์นาประกาศกลยุทธ์การรับมือกับไวรัส SARS-CoV2 สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron, B.1.1.529) สายพันธุ์ล่าสุดที่ทางองค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ในกลุ่มไวรัสสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern, VOCs)

เมืองเคมบริดจ์, รัฐแมสซาชูเซตส์ (ตีพิมพ์โดย BUSINESS WIRE) —เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564— บริษัทโมเดอร์นาได้ประกาศความคืบหน้าเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ทางบริษัทโมเดอร์นาที่จะใช้ในการจัดการรับมือกับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน (B.1.1.529) อันเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลที่เพิ่งอุบัติใหม่ ไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน มีการกลายพันธุ์เช่นเดียวกับที่พบในสายพันธุ์เดลต้าที่เชื่อว่ามีส่วนเพิ่มความสามารถในการติดต่อแพร่กระจายของเชื้อ นอกจากนี้ แล้วยังพบการกลายพันธุ์เช่นเดียวกับที่พบในสายพันธุ์เบต้าและเดลต้า ที่เชื่อว่ามีส่วนส่งเสริมความสามารถในการหลบหนีภูมิคุ้มกันของตัวเชื้อ เมื่อการกลายพันธุ์ทั้งสองประเภทนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการเร่งของอัตราการลดลงของระดับภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ และภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากการฉีดวัคซีน ในขณะนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า วัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา สูตร mRNA-1273 ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นสำหรับประชากรส่วนใหญ่นั้นเป็นขนาด 50 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ของการกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลงเท่านั้น ซึ่งทางบริษัทโมเดอร์นากําลังดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อทดสอบความสามารถของปริมาณวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันต่อการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน และคาดว่าจะมีข้อมูลออกมาในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า บริษัทโมเดอร์นาได้พัฒนากลยุทธ์ที่ครอบคลุมเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสายพันธุ์ที่น่ากังวลชนิดใหม่ๆ ที่อาจอุบัติขึ้นมา โดยมีแนวทางการรับมือสามระดับ กรณีหากพบว่าวัคซีนเข็มกระตุ้นสูตร mRNA-1273 ขนาด 50 ไมโครกรัม ไม่สามารถกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันในระดับที่เพียงพอต่อการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนได้ 1⃣ : กลยุทธ์ที่หนึ่ง บริษัทโมเดอร์นาอยู่ในระหว่างการดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนเข็มกระตุ้นสูตร mRNA-1273 ในขนาด 100 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นการวิจัยในกลุ่มอาสาสมัครผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี โดยในขณะนี้ทางบริษัทโมเดอร์นาได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการฉีดวัคซีนในอาสาสมัครผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 306 คน เพื่อศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนเข็มกระตุ้นขนาด 100 ไมโครกรัม […]

1 3 4 5 22