พระกรณียกิจองค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ค้นหาจากช่วงเวลา

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระวโรกาสให้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเฝ้ารับพระราชทานเครื่องช่วยหายใจ เพื่อพระราชทานความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

วันที่ 8 พฤษภาคม 2564 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จออก ณ ตำหนักทิพย์พิมาน  อำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา พระราชทานพระวโรกาสให้  นางนารีลักษณ์ วิมุกตานนท์ นำ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะเฝ้ารับพระราชทานเครื่องช่วยหายใจ จำนวน 4 เครื่อง        นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เฝ้ารับพระราชทานยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 50,000 เม็ด เพื่อพระราชทานความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19        นายแพทย์ทวีสิน วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือ ศบค. เฝ้ากราบทูลถวายรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย สำหรับวันนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,419 ราย ผู้ป่วยอยู่ระหว่างรักษาตัว 29,473 ราย จำนวนผู้ป่วยรวมสะสม  81,274 ราย แบ่งเป็นในโรงพยาบาล 21,087 ราย และโรงพยาบาลสนาม 8,386 ราย […]

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงห่วงใยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ระลอกใหม่ โปรดเกล้าฯ พระราชทานยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน ๗๐,๐๐๐ เม็ด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย

๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๔๕ น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เสด็จออก ณ ตำหนักทิพย์พิมาน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยทรงมีความห่วงใยต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร จึงโปรดให้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดหายาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) จำนวน ๗๐,๐๐๐ เม็ด เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วย การนี้ พระราชทานพระวโรกาสให้ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เข้าเฝ้ารับพระราชทานยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน ๑๐,๐๐๐ เม็ด ,แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เข้าเฝ้ารับพระราชทานยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน ๕๐,๐๐๐ เม็ด และพลโท ชาญชัย ติกขะปัญโญ เจ้ากรมแพทย์ทหารบก เข้าเฝ้ารับพระราชทานยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน ๑๐,๐๐๐ เม็ด เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ป่วยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อไปการนี้ […]

2 สิงหาคม 2561: พิธีเปิดโครงการอบรมหลักสูตรทูตสุขภาพ รุ่นที่ 1

2 สิงหาคม 2561: ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปยังหอศิลป์พิมานทิพย์ภายในบริเวณตำหนักทิพย์พิมาน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พระราชทานพระวโรกาสให้ผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการหลักสูตรทูตสุขภาพ รุ่นที่ 1 จำนวน 117 ราย เข้าเฝ้าฯ ซึ่งโครงการอบรมหลักสูตรทูตสุขภาพ โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดขึ้น เพื่อเทิดพระเกียรติฯ ที่ทรงงานด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม ภัยพิบัติ และการดูแลสุขภาพหลังเกษียณ ซึ่งเป็นโรคที่มีผู้ป่วยสูงขึ้น ตามสถานการณ์เพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย ผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรทูตสุขภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง และผู้นำชุมชน ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน จะได้รับความรู้และเข้าใจถึงกลไกการเกิดโรค การป้องกันโรค สารก่อมะเร็ง การตรวจคัดกรองมะเร็ง และการดูแลรักษา ซึ่งโรคมะเร็งจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขของเกือบทุกประเทศ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรโลก รวมทั้งโรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม ภัยพิบัติ และการดูแลสุขภาพหลังเกษียณ ซึ่งเป็นโรคที่มีผู้ป่วยสูงขึ้น ตามจำนวนผู้สูงอายุที่มีเพิ่มขึ้นในประเทศไทย ตลอดจนสามารถสร้างเครือข่ายและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนในสังคมต่อไปด้วย โดยการอบรมฯ จะอบรมทุกวันพฤหัสบดี ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2561 ถึงวันที่ […]

23 กันยายน 2560 เสด็จพระราชทานพระโอวาทแก่นักศึกษาใหม่

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชทานพระโอวาทแก่นักศึกษาใหม่ ในโอกาสเริ่มปีการศึกษา 2560 ณ อาคารบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2560 เวลา 18.00 น. ด้วยพระวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและพระปณิธานอันแน่วแน่ใน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่จะทรงยกระดับการศึกษาด้านการแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทย จึงทรงก่อตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ขึ้น ซึ่งได้เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2560 ประกอบด้วย หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ โดยทรงมุ่งหวังให้วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์แห่งนี้ เป็นสถาบันเพื่อพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพด้วยเทคนิคการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีความเหมาะสมกับนักศึกษายุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธาน สภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทรงมีพระกรุณาเสด็จยังราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในวันที่ 23 กันยายน 2560 ทรงพระราชทานพระโอวาทแก่นักศึกษาใหม่ ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน […]

1 ธันวาคม 2560 : พิธีเปิดอาคารศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

1 ธันวาคม 2560 : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จทรงเปิดอาคารศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ ใน 3 โซนการให้บริการ ได้แก่ ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โรงเรียนนักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์ และห้องปฏิบัติการเอ็ม อาร์ ไอ โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้จัดสร้างอาคารดังกล่าวบนพื้นที่ 17 ไร่ ตั้งอยู่ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซนซี ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ เพื่อขยายการให้บริการของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ในส่วนของอาคารผู้ป่วยทั่วไป (OPD) และผู้ป่วยฉุกเฉิน (ER) เพื่อสนองพระปณิธานอันแน่วแน่ที่ทรงอยากให้โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ขยายการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมทุกโรค ไม่ใช่แต่เพียงโรคมะเร็งแต่เพียงอย่างเดียว และเป็นที่พึ่งพิงให้กับประชาชนคนไทยโดยเฉพาะผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาสให้ได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 50 เตียง ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไป และมีบริการในส่วนของศูนย์หัวใจและหลอดเลือดแบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ […]

18 ธันวาคม 2560 – ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ภายใต้แนวคิด “INNOVATION IN CANCER RESEARCH AND CARE”

18 ธันวาคม 2560 – ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5รอบ ภายใต้แนวคิด “INNOVATION IN CANCER RESEARCH AND CARE” การประชุมวิชาการนานาชาติจัดขึ้นโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2560 ณ อาคารศูนย์ประชุม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในโอกาสนี้ ทรงพระราชทานปาฐกถาในหัวข้อ “Early-Life Exposure to Arsenic and its Impacts on Carcinogenesis” และทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โดยงานประชุมครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก 31 วิทยากรรับเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาในสถาบันและมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก อาทิ อเมริกา ยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย เข้าร่วมบรรยาย และมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมกว่า 600 คน มีผู้นำเสนอผลงาน ประเภท Oral Presentation […]

7 พฤษภาคม 2561: ศาสตราจารย์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเททองหล่อพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เขตพระนคร การนี้ทรงวางพวงมาลัยและทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จากนั้นเสด็จเข้า สู่ พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธอังคีรส พระประธานพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายสักการะพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7, พระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และพระราชสรีรางคาร สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 / ทรงศีล   สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถวายศีล จบแล้ว ทรงเป็นประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์  ซึ่งโปรดให้จัดสร้างขึ้น โดยถอดแบบจากพระพุทธรูปประจำโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ พุทธลักษณะแบบประยุกต์ร่วมสมัยศิลปะขอมเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกบนพระหัตถ์มีหม้อยา ความสูงสูง 1 เมตร 97 เซนติเมตร ตามคติมหายานเชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าแห่งการรักษาโรค ตรัสรู้มาเพื่อช่วยโปรดสัตว์โลกให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ปลดเปลื้องความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของมนุษย์ทั้งโรคทางกาย ทางใจ และโรคทางกรรม ซึ่งจะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ตำหนักทิพย์พิมาน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา […]

8 พฤษภาคม 2561: พิธีลงพระนามและลงนาม MOU ระหว่าง วว.รจภ.กับ ม.สงขลานครินทร์

8 พฤษภาคม 2561 ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จออก ณ ชั้น 10 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ทรงลงพระนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จะเน้นความร่วมมือด้านการฝึกหัดและแลกเปลี่ยนแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ และนักศึกษาระหว่าง 2 สถาบัน และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ให้ความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการทำงานด้านวิจัย การใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ และอุปกรณ์การวิจัย และการบริการทางการแพทย์ ต่อจากนั้นพระราชทานพระวโรกาสให้รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เฝ้าถวายเงิน เพื่อสมทบทุนมูลนิธิจุฬาภรณ์เพื่อโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และถวายหนังสือ “มิ่งขวัญ..นิรันดร จุฬาภรณ์ฯ อัครราชกุมารี” ซึ่งมหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา 4 กรกฎาคม 2560

8 พฤษภาคม 2561: คณะผู้บริหาร แพทย์และนักวิจัย เข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัล

8 พฤษภาคม 2561 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จออก ณ ห้องทรงงานส่วนพระองค์ ชั้น 10 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ พระราชทานพระวโรกาสให้ คณะผู้บริหารราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เฝ้ากราบทูลเชิญทรงดำรงตำแหน่งประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และถวายฉลองพระองค์ครุย สังวาลและพระธำมรงค์ ซึ่งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันที่โปรดให้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นสถาบันหลักของชาติด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์การแพทย์ โอกาสนี้ คณะแพทย์และนักวิจัย รวม 4 คน เฝ้าถวายเหรียญรางวัลที่ได้รับจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ ประกอบด้วย อุปกรณ์ช่วยถ่างขยายแผลผ่าตัดเต้านม, แท่นช่วยจับเลื่อยผ่าตัดกระดูกเพื่อความแม่นยำ, ออนไลน์เซ็นเซอร์สำหรับติดตามการหดตัวของมดลูกอัตราการเต้นหัวใจของทารกในครรภ์ และเตียงผ่าตัดรูปแบบใหม่ที่ปรับความยาวได้ ในการนี้ มีพระดำรัสให้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

6 สิงหาคม 2561: สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ ไปทรงเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย ณ ศูนย์พักพิงชั่วคราวโรงเรียนบ้านสว้า ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

6 สิงหาคม 2561: สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ ไปทรงเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย ณ ศูนย์พักพิงชั่วคราวโรงเรียนบ้านสว้า ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน  โอกาสนี้ พระราชทานพระวโรกาสให้ ผู้แทนราษฎร และผู้แทนนักเรียน จำนวน 22 คน เฝ้ารับพระราชทาน ถุงยังชีพพระราชทาน ประกอบด้วย ยาพระราชทาน และของใช้ที่จำเป็น ได้แก่ ผ้าถุง ,ผ้าขาวม้า, ผ้าขนหนู แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, ข้าวสวยพร้อมทาน 10 กระป๋อง,อาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง พระราชทานแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัย จำนวน 300 ชุด  บริเวณพื้นที่ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่บ้านห้วยขาบ หมู่ที่ 7 ประสบภัยพิบัติดินโคลนถล่ม ทับบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายทั้งหลัง จำนวน 4 หลังคาเรือน บ้านได้รับความเสียหายบางส่วน จำนวน 2 หลังคาเรือน […]

8 ตุลาคม 2561 : ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปทรงหารือแนวทางความร่วมมือด้านการพัฒนาหลักสูตรสัตวแพทย์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

8 ตุลาคม 2561 ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปทรงหารือแนวทางความร่วมมือด้านการพัฒนาหลักสูตรสัตวแพทย์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และทอดพระเนตรงานด้านการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกนต์ เมืองเกนต์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ตามคำกราบทูลเชิญของมหาวิทยาลัยดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ แพทยศาสตร์ และด้านการวิจัยทางการแพทย์ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงสนพระทัยในการดำเนินงานของคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกนต์ เมืองเกนต์ โดยทรงมีพระปฏิสันถารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเรียนการสอนและการพัฒนาเพื่อจัดทำหลักสูตรด้านสัตวแพทยศาสตร์ สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์แนวใหม่ ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ต่อไป มหาวิทยาลัยเกนต์ (Ghent University) ตั้งอยู่ที่เมืองเกนต์ ราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2360 และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ประมาณ 230 หลักสูตร ใน 11 คณะ เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นด้านการวิจัย โดยได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 69 จาก 500 อันดับทั่วโลก คณะที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ คณะสัตวแพทย์ ซึ่งก่อตั้งใน พ.ศ.2476  เป็นโรงเรียนสัตวแพทย์แห่งแรกในราชอาณาจักรเบลเยียม ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงระดับโลก ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 จาก […]

1 ตุลาคม 2561 : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทรงงานทางวิชาการและทอดพระเนตรการดำเนินงานของศูนย์วิจัยโรคมะเร็ง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ เมืองไฮเดลแบร์ก

วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปศูนย์วิจัยมะเร็งแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.โยเซฟ พุกตา ผู้อำนวยการด้านบริหารศูนย์วิจัยมะเร็งแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ ศาสตราจารย์ นพ.ฮารัล ซัวเฮาเซน อดีตผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัยมะเร็งแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พร้อมด้วยผู้บริหารเฝ้ารับเสด็จ ศูนย์วิจัยมะเร็งแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นศูนย์วิจัยทางชีวการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้รับการก่อตั้งในปี ค.ศ.1964 เพื่อทำการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาแนวทางการวินิจฉัยและรักษาใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งรอดชีวิตได้ดีขึ้น เป็นสถาบันที่มีความก้าวหน้าอย่างสูงด้านการวิจัยและพัฒนาวิธีการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็ง โดยมีการศึกษาหากลไกพื้นฐานของโรคมะเร็ง รวมทั้งค้นหาสาเหตุและชี้ให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าว การตรวจพบโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ ก่อนที่จะลุกลาม รวมทั้งเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคมะเร็งแก่ผู้ป่วยและบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพต่อไป สำหรับ ศาสตราจารย์ นพ.ฮารัล ซัวเฮาเซน อดีตผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัยมะเร็งแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ผู้ที่ได้รับรางวัลพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2548 และได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ในปี พ.ศ. 2551 จากการค้นพบไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรี นำไปสู่ความสำเร็จในการคิดค้นวัคซีนต้านไวรัส ที่สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ในสตรีทั่วโลก […]

1 6 7 8 11