ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ได้รับรางวัลแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ในงานเวทีนานาชาติ Seoul International Invention Fair 2022 (SIIF2022) เมื่อวันที่ 16 – 19 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

ทีมนักวิจัยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทย คว้ารางวัล จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน “Seoul International Invention Fair 2022” (SIIF 2022) ที่จัดขึ้นโดย Korea Invention Promotion Association (KIPA)  เมื่อวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2565 ณ Coex Convention & Exhibition Center กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

โดยผลงานสิ่งประดิษฐ์จากทีมนักวิจัยจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ได้รับรางวัลมี 3 ผลงาน ดังนี้

  1. ชื่อผลงาน รองเท้าฝึกลงน้ำหนัก (Re-walk)

รางวัล เหรียญเงิน (Silver Prize)

ชื่อผู้วิจัย

นางสาวชนม์นิภา ผ่องสุภา ตำแหน่ง นักกายภาพบำบัด  สังกัด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

นายธีรศักดิ์ สมใจ ตำแหน่ง นักกายภาพบำบัด สังกัด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

นางสาวณัชชยา พุกสุข ตำแหน่ง นักกายภาพบำบัด สังกัด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

  • ชื่อผลงาน  อุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกนิ้วมือจากภายนอกแบบขยับได้ (Dynamic External Fixator for Finger Fracture)

รางวัล

  • เหรียญทอง (Gold Prize)
  • Special Prize

The Outstanding Invention จาก International Federation of Inventors Associations (IFIA)

ชื่อผู้วิจัย          

นายแพทย์เติมพงศ์ พ่อค้า ตำแหน่ง รักษาการหัวหน้างานศัลยกรรมกระดูกและข้อ สังกัด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ดร.ทศพร เฟื่องรอด ตำแหน่ง  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาผู้ประกอบการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัด วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน

  • ชื่อผลงาน

OSCEsim (การจำลอง OSCEs เสมือนสำหรับนักศึกษาแพทย์)

OSCEsim (Virtual OSCEs Simulations for Medical Students)

ชื่อผู้วิจัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ธนพล ชอบเป็นไทย ตำแหน่ง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา สังกัด วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน

รางวัล

  • เหรียญทอง (Gold Prize)
  • Special Prize

The best International Invention จาก Vietnam Fund for Supporting Technological Creations (VIFOTEC)

       โดยมีหน่วยงานพัฒนานวัตกรรมที่สร้างคุณค่า ถ่ายทอดเทคโนโลยีและจัดการทรัพย์สินทางปัญญา  สำนักงานผู้อำนวยการและฝ่ายบริหารกลางวิจัย ศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ พร้อมกันนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการนำทีมนักวิจัยเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย