24 สิงหาคม 2564: รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นประธานในโครงการปัจฉิมนิเทศและพิธีมอบประกาศนียบัตร ทางออนไลน์ผ่านโปรแกรมซูม แก่ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) รุ่นที่ 1 จำนวน 89 คน ณ ห้องบรรยายใหญ่ ชั้น 2 คณะพยาบาลศาสตร์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

24 สิงหาคม 2564: รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นประธานในโครงการปัจฉิมนิเทศและพิธีมอบประกาศนียบัตร ทางออนไลน์ผ่านโปรแกรมซูม แก่ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) รุ่นที่ 1 จำนวน 89 คน ณ ห้องบรรยายใหญ่ ชั้น 2 คณะพยาบาลศาสตร์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

การจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล เป็นหลักสูตรบริการวิชาการแก่สังคม ที่คณะพยาบาลศาสตร์ จัดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมในปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยบุคคลเมื่อมีอายุมากขึ้นร่างกายจะมีความเสื่อมถอยมีความเปราะบาง และมีแนวโน้มที่จะเกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลัน เจ็บป่วยเรื้อรังและมีภาวะพึ่งพิงผู้อื่นมากขึ้น ทั้งขณะอยู่บ้านและเมื่อเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล

คณะพยาบาลศาสตร์ จัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) ครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 1 หลักสูตรนี้ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562 และจัดการเรียนการสอน ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2564 โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลง ความต้องการของผู้สูงอายุและครอบครัว ให้การช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อหน้าที่ มีจิตอาสาและมีวินัย โดยปฏิบัติงานตามขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบภายใต้การควบคุมดูแลของพยาบาลวิชาชีพ รวมทั้ง ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

การจัดการศึกษาในหลักสูตรนี้แบ่งเป็น รายวิชาภาคทฤษฎี จำนวน 26 หน่วยกิต รายวิชาภาคปฏิบัติ จำนวน 12 หน่วยกิต รวม 38 หน่วยกิต โดยเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจผู้สูงอายุ มีทักษะการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุทั้งที่มีภาวะพึ่งพิงและภาวะเจ็บป่วย ขั้นพื้นฐาน สามารถออกไปประกอบอาชีพในการให้บริการทางสุขภาพตามที่สภาการพยาบาลกำหนด ตามปรัชญาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ “เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต”