การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต หรือ การปลูกถ่ายไขกระดูก

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต หรือ การปลูกถ่ายไขกระดูก (Hematopoietic Stem Cell Transplantation) เป็นการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูงเพื่อกำจัด stem cells ที่ผิดปกติ จากนั้นจึงปลูกถ่ายไขกระดูกปกติที่เก็บไว้จากตนเองหรือผู้อื่น เพื่อใช้ในการรักษาโรคทางโลหิตวิทยาหลายชนิด เช่น
– โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ดื้อยาเคมีบำบัด (Refractory Lymphoma)
– โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Multiple myeloma)
เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่เป็นปกติและหายขาดจากโรค ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะโรคของผู้ป่วย

สำหรับการปลูกถ่ายไขกระดูกโดยวิธี Autologous hematopoietic stem cell transplantation คือ การปลูกถ่ายไขกระดูกจากตัวผู้ป่วยเอง โดยมีหอผู้ป่วยโลหิตวิทยาและเซลล์บำบัดเป็นห้องพักแรงดันบวก (Positive pressure ward) ที่มีตัวกรองเชื้อโรคในอากาศ (HEPA Filter) เพื่อป้องกันการติดเชื้อพร้อมการดูแลจากทีมผู้เชี่ยวชาญสหสาขาวิชาชีพเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต หรือ การปลูกถ่ายไขกระดูก

1. ฉีดยากระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก

2. เก็บเซลล์ต้นกำเนิดผ่านเครื่องเก็บสเต็มเซลล์

3. แช่แข็งสเต็มเซลล์ไว้จนกว่าจะถึงวันปลูกถ่าย

4. ใช้เคมีบำบัดในปริมาณสูงแก่ผู้ป่วยเพื่อทำลายเซลล์ไขกระดูกที่มีความผิดปกติ

5. ฉีดเซลล์ต้นกำเนิดที่ละลายแล้วเข้าหลอดเลือดดำ

6.ทานยาและดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด โดยรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนกว่าภาวะและเม็ดเลือดต่าง ๆ เริ่มกลับสู่ปกติจึงสามารถกลับไปดูแลตัวเองต่อที่บ้าน และประเมินตัวโรคซ้ำที่ Day 100 หรือประมาณ 3 เดือน หลังการปลูกถ่ายไขกระดูก

อายุรกรรมโลหิตวิทยา ชั้น 3 โซน B อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์

เปิดบริการ วันจันทร์-วันศุกร์ 08:00-16:00 น. และวันเสาร์-วันอาทิตย์ 08.00-12.00 น.
ติดต่อสอบถามหรือทำนัดปรึกษา Add Line : https://lin.ee/vp4a66P