โรคหัวใจขาดเลือด

ตามหัวใจให้ทันโรค

หัวใจขาดเลือด

เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตันโดยส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดแข็งตัวขึ้นเนื่องจากมีไขมันและเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้นทำให้หลอดเลือดมีการตีบแคบลงส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดน้อยกว่าปกติ เป็นผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งจะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น หากรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

หลอดเลือดหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยง

⚠️ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
⚠️สูบบุหรี่จัด
⚠️เครียดเป็นประจำ
⚠️เพศชาย อายุ 45 ปีขึ้นไป
⚠️เพศหญิง อายุ 55 ปีขึ้นไป
⚠️มีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
⚠️รับประทานอาหารไขมันสูง
⚠️ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
⚠️ประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รวมไปถึงโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ

สัญญาณเตือน

หายใจหอบเหนื่อย

เหงื่อออก
จะเป็นลม หน้าซีด

หายใจลำบาก
เหงื่อออกมากผิดปกติ

⚠️รีบเดินทางมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง

หน้ามืด เวียนศีรษะ
ร่วมกับเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกบีบรัด
หรือกดทับ

แสบร้อนกลางอก
เจ็บหน้าอกปวดร้าวไปกรามสะบักหลัง แขนซ้าย หัวไหล่

คลื่นไส้อาเจียน

จุกเสียดแน่น
จุกบริเวณคอหอยบางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่

ตรวจเช็กให้รู้ทัน

ตรวจร่างกายและซักประวัติโดยละเอียดกับแพทย์เฉพาะทางหัวใจและหลอดเลือด


✔️ตรวจเลือด Blood test
การตรวจเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจ สามารถบ่งบอกถึงการเป็นโรคหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลันได้

✔️ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG
ช่วยวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อย่างไรก็ตาม คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจจะปกติได้แพทย์อาจแนะนำตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลัง

✔️ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน Exercise Stress Test
ช่วยวินิจฉัยโรคขณะที่หัวใจทำงานหนักขึ้นต้องการออกซิเจนมากขึ้นเมื่อหลอดเลือด หัวใจตีบ ไม่สามารถนำเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจและอาจมีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น รวมทั้งบอกความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและสมรรถภาพของหัวใจได้

✔️ตรวจอัลตราซาวด์หัวใจ Echocardiogram
ช่วยวินิจฉัยเพื่อดูโครงสร้างภายในหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ, กล้ามเนื้อหัวใจ , เยื่อหุ้มหัวใจ

4 แนวทางการรักษาหัวใจขาดเลือด

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตโดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญ

การรักษาด้วยการใช้ยาซึ่งขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรง

💊ยาเพื่อป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือดเข้ากับผนังของหลอดเลือดแดง
💊ยาเพื่อช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก ลดการทำงานของหัวใจให้ดีขึ้น
💊ยาเพื่อใช้สลายลิ่มเลือดที่อุดกั้นหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
💊ยาอื่น ๆ ที่ใช้รักษาภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ยาขับปัสสาวะ
ยาที่ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น

การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยบอลลูน

การใช้สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่โคนขาหรือข้อมือ เข้าไปจนถึงหลอดเลือดหัวใจที่ตีบและขยายหลอดเลือดจะได้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น

การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยบอลลูน

การรักษาโดยการผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจใหม่โดยการใช้หลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำที่ขามาต่อหลอดเลือดหัวใจ