โรคต้อหิน

โรคต้อหินพบในคนไทยกว่า 2 ล้านคน ส่วนใหญ่พบในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โรคต้อหินระยะแรกไม่มีอาการ จัดเป็นภัยเงียบของดวงตา โดยโรคต้อหินเกิดจากการที่ความดันในลูกตาสูงจากการระบายออกของน้ำเลี้ยงในลูกตาน้อยผิดปกติทำให้ลูกตาแข็งขึ้น จนเกิดการกดทับขั้วประสาทตา ทำให้เซลล์ประสาทตาถูกทำลาย มีการเสียของลานสายตาและการมองเห็นลดลงเรื่อย ๆ หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด

วิธีการรักษาโรคต้อหิน โดยประเมินจากความรุนแรงของโรคตามลำดับ

• การใช้ยา
• การรักษาด้วยเลเซอร์
• การผ่าตัด

กลุ่มเสี่ยงโรคต้อหิน

  1. อายุ 40 ปีขึ้นไป และมักพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ
  2. ความดันในลูกตาสูง
  3. พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน
  4. สายตาสั้นหรือยาวมาก
  5. มีโรคทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ
  6. ผู้ที่ใช้ยาหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์มานานจนทำให้ความดันตาขึ้น
  7. เคยได้รับอุบัติเหตุ/ผ่าตัดตามาก่อน
  8. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หัวใจ และความดันโลหิตสูง

ผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองต้อหินกับจักษุแพทย์เป็นประจำทุกปี ร่วมรณรงค์คนไทยดูแลใส่ใจสุขภาพดวงตา ต้อหินภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น รู้เท่าทัน รักษาเร็ว ป้องกันตาบอดได้

เข้ารับการตรวจปรึกษาได้ที่
เทคโนโลยีจักษุวิทยา ชั้น 12
อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
โทร 0 2765 5734