โรคเมลิออยด์

โรคเมลิออยด์ เกิดจาก

การติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ที่พบได้ทั่วไปในดินและน้ำโดยเฉพาะ ภาคอีสานภาคใต้ของไทย มักพบในผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือชาวบ้านเรียกว่า “โรคไข้ดิน”

3 ช่องทางการรับเชื้อ

การรับเชื้อผ่านบาดแผล
ที่ผิวหนัง

การสูดหายใจรับฝุ่นละออง
ที่มีเชื้อปนเปื้อน

การดื่มน้ำหรือการรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน

โรคเมลิออยด์ติดเชื้อทางไหนบ้าง

ติดเชื้อที่ผิวหนัง

ติดเชื้อในปอด

ติดเชื้อในกระแสเลือด

ติดเชื้อในอวัยวะภายใน
(ตับ ไต สมอง กระดูก)

ความรุนแรงของโรคหากติดเชื้อในกระแสเลือด
อาจเป็นอันตรายที่ทำให้เสียชีวิตได้

ผู้ประกอบอาชีพสัมผัสดิน น้ำ เป็นเวลานาน
โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ต้องสัมผัสกับดิน
และน้ำด้วยเท้าเปล่า

ผู้มีโรคประจำตัว

โรคเบาหวาน โรคธาลัสซีเมีย โรคปอด โรคไต
โรคมะเร็ง ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรรีบทำความสะอาดบาดแผลหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำ จนกว่าแผลนั้นจะแห้งสนิท

ควรทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังสัมผัสดินและน้ำ

รับประทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำต้มสุก

หลีกเลี่ยงการอยู่ที่โล่งแจ้งหรือลงไร่นา ในขณะที่มีพายุฝนหรือสภาพอากาศแปรปรวน

โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน กลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานหรือไตวายเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำในถิ่นที่มีโรคชุกชุม

หากมีการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกของการรักษา สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการให้ยาปฏิชีวนะด้วยการฉีดยาต้านนาน 10-14 วัน

หลังจากนั้นแพทย์จะให้ยาต้านชนิดทานต่อเนื่องนาน 3-6 เดือนหากพบภาวะแทรกซ้อน จะให้ยาเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม เพื่อการดูแลโรคให้หายขาด

หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือติดเชื้อในกระแสเลือดมีอัตราความเสี่ยงเสียชีวิตถึง 40 เปอร์เซ็นต์

อาการของโรคเมลิออยด์ (Melioidosis) ถ้าสังเกตพบว่าตนเอง

มีไข้สูง

ไอ

ปวดท้อง

เจ็บหน้าอก

ปวดกล้ามเนื้อ

อาจมีแผลตามเท้า

ฝี หรือ หนอง ที่ผิวหนังหรือตามร่างกาย

ควรรีบปรึกษาแพทย์เพราะอาจพบการติดเชื้อในอวัยวะภายในอื่น ๆ เช่น ปอด ตับ ม้าม ไต ไปจนถึงติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเฉียบพลันอย่างรุนแรงและเสียชีวิตอย่างรวดเร็วได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ อาการและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย และปริมาณของเชื้อที่ได้รับ

วินิจฉัยได้จากลักษณะอาการของผู้ป่วย แหล่งที่อยู่อาศัยและการตรวจเพาะเชื้อจากเลือดและสารคัดหลั่ง ซึ่งเป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยว่าเป็นโรคเมลิออยด์ควรได้รับการเพาะเชื้อจากเลือดเสมหะ (ถ้ามี) และสิ่งส่งตรวจอื่น ๆ เช่น หนองตามที่ต่าง ๆ

วินิจฉัยได้จากลักษณะอาการของผู้ป่วย แหล่งที่อยู่อาศัยและการตรวจเพาะเชื้อจากเลือดและสารคัดหลั่ง ซึ่งเป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยว่าเป็นโรคเมลิออยด์ควรได้รับการเพาะเชื้อจากเลือดเสมหะ (ถ้ามี) และสิ่งส่งตรวจอื่น ๆ เช่น หนองตามที่ต่าง ๆ