รู้เท่ารู้ทัน ดูแลหัวใจแม่ให้แข็งแรง โรคหัวใจที่พบบ่อยในผู้สูงวัย

หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย หากใครที่ไม่ได้ดูแลร่างกายตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ อาจทำให้เกิดโรคหัวใจตามมาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคหัวใจแบ่งอาการแยกย่อยเป็นโรคอะไรได้บ้าง ลักษณะอาการของโรคหัวใจแต่ละชนิดเป็นอย่างไร ชนิดไหนที่ตรวจพบได้ยากที่สุด คนกลุ่มไหนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากที่สุด แล้วจะมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ

ชีวิตคนเราอยู่ในโลกแห่งความเสี่ยง เดินทางโดยรถยนต์ก็เสี่ยงต่ออุบัติภัยจราจร นั่งเรือก็เสี่ยงต่ออุบัติภัยทางน้ำ เดินข้างถนนบางครั้งก็ยังเสี่ยงต่อรถปีนฟุตบาทมาทับ หรือแม้แต่การเสี่ยงโชค ซื้อหวยก็เสี่ยงต่อการถูกกิน
เหตุการณ์ที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นความเสี่ยงแบบฉับพลัน ที่จริงยังมีความเสี่ยงแบบเรื้อรังอยู่เหมือนกัน เช่น กินข้าวขาหมูมันๆ บ่อยๆ ก็คงเสี่ยงต่อไขมันในเลือดสูง และหลอดเลือดอุดตัน สูบบุหรี่ก็เสี่ยงต่อมะเร็งปอดมะเร็งอื่นๆ
และยังเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย ความเสี่ยงนั้นเป็นเรื่องของโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากหรือน้อย เรามักบอกความเสี่ยงเป็นตัวเลขเพื่อบอกว่าเสี่ยงมากเพียงใด
หรืออาจบอกว่าเป็นกี่เท่าของคนที่เสี่ยงน้อยกว่า เช่น โอกาสเสี่ยงเป็นหัวใจขาดเลือดในคนสูบบุหรี่เป็น 2 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่ บางคนอาจบอกว่าเคยมีเพื่อนหรือญาติที่รู้จักไม่เคยสูบบุหรี่ ไม่ค่อยกินข้าวขาหมู
แต่สุดท้ายก็ตายเพราะโรคหัวใจ แล้วจะอธิบายอย่างไร คำตอบคงไม่ยากใช่ไหมว่าเป็นไปได้เพราะสาเหตุของหัวใจขาดเลือดเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูงจากอ้วน ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น
เรื่องสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดสมองนั้นเกิดได้จากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและทางพันธุกรรม (หน่วยพันธุกรรมที่เรียกว่า ยีน ซึ่งสืบทอดมาจากพ่อแม่ บรรพบุรุษ)