มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่ควรระวัง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่ควรระวัง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ คือการที่มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ และเนื่องจากลำไส้ใหญ่ มีลักษณะเป็นท่อ เมื่อมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นก็จะทำให้รู้ลำไส้ใหญ่ตีบลงอุจจาระที่ผ่านมาทางลำไส้ใหญ่ก็จะออกลำบากเพิ่มขึ้น จึงสะสมอยู่ข้างใน ส่งผลให้ท้องอืด แน่นท้อง อึดอัดมากขึ้น

เมื่อทางออกตีบ แคบลง อุจจาระที่จะผ่านออกมาจากที่เป็นก้องก็จะเล็กลง และเนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งจะมีความยุ่ย ถลอกได้ง่ายกว่าเนื้อเยื่อธรรมดา ฉะนั้นจึงมีเลือดปนออกมาในอุจจาระ ทำให้ผู้ป่วยสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น

ปัจจุบันยังไม่รู้สาเหตุชัดเจนว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากอะไร แต่จากที่พบในกลุ่มคนไข้มะเร็งลำไส้ใหญ่ พอจะจำกัดได้ว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดได้จากปัจจัยยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้และหลีกเลี่ยงไม่ได้

วิธีสังเกตโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เบื้องต้น คือ การขับถ่ายผิดปกติ เนื่องจากลำไส้มีหน้าที่ขับถ่ายอุจจาระ ถ้าเริ่มมีอาการขับถ่ายอุจจาระที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น จากที่เคยถ่ายอุจจาระวันละ 1 ครั้ง เปลี่ยนเป็นวันละ 3-4 ครั้ง หรือลักษณะของอุจจาระที่ออกมาจะเหลวมากกว่าปกติ มีเลือด หรือเป็นมูกปนมาด้วย เมื่อมีอาการเช่นนี้ ควรต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อดูว่าอาการผิดปกติของอุจจาระที่เกิดขึ้นต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือไม่

ส่วนอาการที่ตามมาอย่างอื่น เช่น มีอาการแน่นท้อง ปวดท้องโดยไม่รู้สาเหตุ สองอาการนี้ บางท่านอาจจะไม่ทันเฉลียวใจ น้ำหนังลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ สิ่งนี้จะทำให้เป็นที่สังเกตง่าย หลังจากนั้นก็อาจจะเริ่มซีดลง โดยไม่ทราบสเหตุที่ชัดเจน เมื่อมีความผิดปกติเช่นนี้ควรต้องปรึกษาแพทย์ทันที

สัญญาณเตือน มะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และไม่มีอาการผิดปกติให้เห็นเป็นการเตือน จึงต้องหมั่นสังเกตร่างกายตนเองว่ามีความผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ สำหรับอาการผิดปกติที่ไม่ควรปล่อยไว้เพราะอาจทำให้คุณเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง คือ มีอาการท้องเสีย ท้องผูกเป็นประจำ หรือมีเลือดออกในอุจจาระ มีมูกปน เกิดอาการจุกเสียด แน่นท้อง หรือปวดท้องบ่อย อื่นเพลีย และน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีอาการดังกล่าวนี้ ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ ตรวจเช็กเพื่อความสะบายใจ หรือหากตรวจแล้วพบว่า เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะได้รักษาได้ทันท่วงที

ใครบ้างเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

โอกาสและความเสี่ยงของบุคคลที่จะป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ และไม่สามารถควบคุมได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เช่น อายุ มักจะพบในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปประมาณ 80-90% หรือ ถ้าเคยมีประวัติ เคยเป็นลำไส้อักเสบ หรือถ้าครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน ก็จะมีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ แต่ไม่ควบคุม เช่น ไม่ชอบออกกำลังกาย ไม่ชอบทานผัก หรือ ผลไม้ท่านแต่อาหารที่มีเนื้อสีแดง หรือผู้ที่ชอบทานอาหารจำพวกไส้กรอก หรืออาหารรมควันโดยไม่ใช้ความร้อนเมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ควรหลีกเสี่ยงหรือระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ตัวเองเข้าไปอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังที่กล่าวมา

ขอบคุณข้อมูล นายแพทย์บัญชร ศิริพงศ์ปรีดา

แพทย์เฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์


ตรวจสุขภาพประเมินความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ด้วยการส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในคนไทย 90% เกิดกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จึงแนะนำให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปควรเริ่มเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม เพียงท่านมีประวัติครอบครัว ท่านก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมากขึ้นทันทีโดยที่ไม่จำเป็นต้องอายุมากหรือมีอาการผิดปกติ การตรวจคัดกรองพบตั้งแต่ระยะแรกสามารถรักษาโรคให้หายได้ ช่วงอายุที่เราควรเข้ารับการตรวจประเมินความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ – ผู้ที่ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่มีประวัติติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง แนะนำให้เข้ารับการตรวจที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป – ผู้ที่มีญาติสายตรง ได้แก่ บิดา มารดา พี่น้องที่ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในช่วงอายุ60ปีขึ้นไป หรือมีสมาชิกในครอบครัวอื่นๆ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อาเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในช่วงอายุน้อยกว่า 50 ปี แนะนำให้เข้ารับการตรวจที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป – ผู้ที่มีญาติสายตรง ได้แก่ บิดา มารดา พี่น้องอย่างน้อย 1 คนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่ออายุน้อยกว่า 60 ปี หรือมีสมาชิกในครอบครัวอื่นๆ อย่างน้อย 2 คนป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ว่าอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม แนะนำให้เข้ารับการตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป หรือที่อายุก่อนช่วงอายุของญาติที่ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างน้อย 10 ปี